การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10126
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/24
คำถามอย่างย่อ
ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
คำถาม
ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์มีทัศนคติเกี่ยวกับความยุติธรรมแตกต่างกันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ทั้งสองสำนักคิดนี้ต่างก็ถือว่าความยุติธรรมของอัลลอฮ์คือหนึ่งในหลักศรัทธาของตน ทั้งสองเชื่อว่าความดีและความชั่วพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญา กล่าวคือสติปัญญาสามารถจะพิสูจน์ความผิดชอบชั่วดีในหลายๆประเด็นได้แม้ไม่ได้รับแจ้งจากชะรีอัตศาสนา ความอยุติธรรมก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่สติปัญญาของมนุษย์ทุกคนพิสูจน์ได้ว่าเป็นความชั่ว ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์จึงไม่ทรงลดพระองค์มาแปดเปื้อนกับความชั่วดังกล่าว แต่ทรงเป็นผู้ไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมอย่างไม่ต้องสงสัย
ข้อแตกต่างระหว่างสองสำนักคิดข้างต้นก็คือ เมื่อเผชิญข้อโต้แย้งที่ว่า “หากทุกการกระทำของมนุษย์มาจากพระองค์จริง แสดงว่าการให้รางวัลและการลงโทษมนุษย์ย่อมไม่มีความหมาย” มุอ์ตะซิละฮ์ชี้แจงด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี (เอกานุภาพเชิงกรณียกิจ) แต่ชีอะฮ์ปฏิเสธทางออกดังกล่าวที่ถือว่ามนุษย์ไม่ต้องพึ่งพาอัลลอฮ์ในการกระทำ โดยเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์เชื่อมต่อกับการกระทำของอัลลอฮ์ในเชิงลูกโซ่ มิได้อยู่ในระนาบเดียวกัน จึงทำให้ตอบข้อโต้แย้งข้างต้นได้โดยที่ยังเชื่อในความยุติธรรมของพระองค์ดังเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

แม้ทั้งสองสำนักคิดนี้จะศรัทธาในอัดล์ (หลักความยุติธรรมของอัลลอฮ์) แต่ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ในเรื่องนี้ก็คือ มุอ์ตะซิละฮ์พิสูจน์อัดล์ด้วยการปฏิเสธเตาฮี้ด อัฟอาลี(เอกานุภาพด้านกรณียกิจ)  ซึ่งเป็นหลักที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่ว่าจะดีหรือชั่วล้วนมาจากพระองค์ ไม่มีผู้กระทำอื่นใดนอกจากพระองค์ ซึ่งก็หมายความว่าตราบใดที่พระองค์ไม่ทรงลิขิต ก็จะไม่มีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นเลย[1] เสมือนว่ากลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์หวั่นเกรงว่า ถ้าหากยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ลิขิตทุกความดีความชั่ว จะทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า การตอบแทนในสวรรค์และการลงทัณฑ์ในนรกล้วนขัดต่อความยุติธรรมของพระองค์ ทำให้กลุ่มนี้ปฏิเสธเตาฮี้ดอัฟอาลี และถือว่าการกระทำของแต่ละคนล้วนเกิดขึ้นโดยมนุษย์ผู้กระทำเท่านั้น หาได้ครอบคลุมถึงอัลลอฮ์ไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การตอบแทนและลงทัณฑ์มนุษย์สอดคล้องกับหลักความยุติธรรมของพระองค์

ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่า การยอมรับเตาฮี้ดอัฟอาลีมิได้ขัดต่ออำนาจการตัดสินใจของมนุษย์ เพราะการตัดสินใจของมนุษย์อยู่ภายใต้การตัดสินใจของอัลลอฮ์ ซึ่งแม้ว่ามนุษย์จะไม่อาจกระทำการใดๆได้เลยหากพระองค์ไม่ทรงประสงค์ แต่ก็สามารถชี้แจงได้ว่า พระองค์เลือกที่จะให้อิสระแก่มนุษย์ในระดับหนึ่งภายใต้พลานุภาพอันกว้างขวางของพระองค์ ทำให้สามารถชมเชยหรือตำหนิการกระทำมนุษย์ได้
และเพื่อเสริมความเข้าใจ เราขอนำเสนอเนื้อหาจากบทความชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้

สถานภาพของประเด็นความยุติธรรมในความเชื่อของกลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์
กลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์เชื่อว่าการกระทำบางอย่างถือเป็นความยุติธรรมโดยตรง และบางอย่างถือเป็นการกดขี่ ตัวอย่างเช่น การที่พระองค์ให้รางวัลแก่ผู้บำเพ็ญความดีหรือการลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ในความเป็นจริงแล้วก็ถือเป็นความยุติธรรม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะปฏิบัติสวนทางกับแนวดังกล่าว เนื่องจากทรงเป็นผู้เที่ยงธรรมและไม่เคยกดขี่ผู้ใด ทั้งนี้เพราะการกดขี่ถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจสำหรับพระองค์

กลุ่มนี้เชื่อว่าความดีความชั่วจำแนกเป็นเอกเทศและตั้งอยู่บนฐานแห่งสติปัญญา
ท่านชะฮีดมุเฏาะฮะรีกล่าวไว้ว่า “พวกเขาเชื่อว่าความดีความชั่วที่โดยปกติมักใช้เป็นมาตรวัดพฤติกรรมมนุษย์นั้น สามารถนำมาใช้เป็นมาตรฐานของกิจของอัลลอฮ์ได้ด้วย พวกเขาเชื่อว่าความยุติธรรมโดยตัวของมันแล้วถือเป็นสิ่งดี ส่วนการกดขี่ โดยตัวของมันเองเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ฉะนั้น อัลลอฮ์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดปัญญาอันเยี่ยมยอด ย่อมไม่ทรงละทิ้งสิ่งที่สติปัญญาตัดสินว่าเป็นเรื่องดี และทรงไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่สติปัญญาตัดสินว่าน่ารังเกียจ”

มุอ์ตะซิละฮ์เชื่อว่าสติปัญญามนุษย์สามารถจำแนกผิดชอบชั่วดีได้อย่างอิสระ โดยสามารถรับรู้ความดีงามของถูกต้อง ความซื่อสัตย์ ความยำเกรง ความรักนวลสงวนตัว ฯลฯ และรับรู้ความน่ารังเกียจของการโกหก การทรยศ การหลงกิเลส ฯลฯ ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการบอกเล่าของศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการกระทำต่างๆมีความผิดชอบชั่วดีอยู่ในตัวก่อนที่พระองค์จะแจ้งเสียอีก ความเชื่อเช่นนี้ย่อมจะส่งผลต่อความเชื่อในเรื่องอื่นๆ อาทิความเชื่อเกี่ยวกับอัลลอฮ์ และความเชื่อที่เกี่ยวกับมนุษย์ อย่างเช่นปริศนาที่ว่า “พระองค์ทรงมีเป้าหมายในการสร้างสรรพสิ่งต่างๆหรือไม่?”

อนึ่ง กลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์เลือกที่จะปฏิเสธความเชื่อในเรื่องเตาฮี้ดอัฟอาลีเนื่องจากพวกเขาเชื่อในหลักอัดล์ โดยเชื่อว่าผลพวงของการยอมรับเตาฮี้ดอัฟอาลีก็คือการยอมรับว่าอัลลอฮ์เป็นผู้สร้างการกระทำของมนุษย์ โดยที่มนุษย์ไม่มีบทบาทใดๆต่อการกระทำของตัวเอง และว่าการเชื่อเช่นนี้ขัดต่อหลักอัดล์ของพระองค์ มุมมองของกลุ่มนี้ตรงข้ามกับมุมมองของกลุ่มอะชาอิเราะฮ์ที่ปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์ต่อพฤติกรรมของตนเอง

เหตุผลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหลักอัดล์ในมุมมองของมุอ์ตะซิละฮ์ ทำให้ทราบว่าเหตุใดพวกเขาจึงให้ความสำคัญต่ออัดล์ในฐานะที่เป็นหลักศรัทธาเสมือนชีอะฮ์ โดยจัดให้เป็นหลักศรัทธาข้อที่สองจากหลักศรัทธาห้าประการ

จึงเข้าใจได้ว่ากลุ่มมุอ์ตะซิละฮ์ยอมเสียความเชื่อเกี่ยวกับเตาฮี้ดอัฟอาลีไปเพื่อรักษาหลักแห่งอัดล์ ในขณะที่อะชาอิเราะฮ์ยอมเสียอัดล์ไปเพื่อคงไว้ซึ่งเตาฮี้ดอัฟอาลี ทว่าในความเป็นจริงแล้ว มุอ์ตะซิละฮ์เองก็ไม่สามารถแจกแจงหลักแห่งอัดล์ได้อย่างถูกต้อง และอะชาอิเราะฮ์เองก็ยังเข้าไม่ถึงแก่นแห่งเตาฮี้ดอัฟอาลี สรุปได้ว่าความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มนี้เกิดจากมุมมองต่อเตาฮี้ดและอัดล์นั่นเอง

อัดล์ในทัศนะของอิมามียะฮ์
นักวิชาการชีอะฮ์ได้ประยุกต์คำสอนของกุรอานและฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์ในการลำดับหลักแห่งอัดล์เข้าเป็นหลักศรัทธาลำดับที่สองจากหลักศรัทธาห้าประการ โดยถือว่าการกระทำต่างๆมีความผิดชอบชั่วดีแฝงอยู่ในตัวของมันเอง กล่าวคือการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องดี และการกระทำบางอย่างเป็นเรื่องน่ารังเกียจ สติปัญญามนุษย์สามารถรับรู้ถึงความดีและความน่ารังเกียจของการกระทำต่างๆได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบัญญัติทางศาสนา ดังที่รับรู้ว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องดี และการกดขี่เป็นเรื่องน่ารังเกียจ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงบัญชามนุษย์เฉพาะเรื่องที่ดีงาม และห้ามปรามเฉพาะเรื่องที่น่ารังเกียจเท่านั้น บทบัญญัติศาสนาจึงเป็นไปตามความผิดชอบชั่วดีที่แท้จริงที่ปรากฏอยู่ในแต่ละการกระทำ และพระองค์ย่อมห้ามปรามทุกสิ่งที่เป็นอันตราย เนื่องจากพระองค์จะไม่ทรงกระทำสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าพระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ชะฮีดมุเฏาะฮะรีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “อัลลอฮ์ทรงประทานเมตตาหรือลงบะลาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี ทั้งนี้ ระบบระเบียบของโลกมีกลไกเฉพาะอันมีผลต่อการแผ่เมตตา ให้รางวัล ทดสอบ และลงโทษ”

แม้ว่าทั้งชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์จะมีหลักความเชื่อที่คล้ายคลึงกันหลายประการ อันทำให้ได้รับฉายาว่า “อัดลียะฮ์”ร่วมกัน ทว่ายังมีข้อแตกต่างบางประเด็นระหว่างสองสำนักคิดดังกล่าวอยู่ เป็นต้นว่า ชีอะฮ์ยอมรับหลักแห่งอัดล์โดยไม่ส่งผลให้ต้องปฏิเสธเตาฮี้ดอัฟอาลีหรือเตาฮี้ดซาตี(เอกานุภาพเชิงอาตมัน) อันทำให้อัดล์และเตาฮี้ดอยู่คู่กันได้ สำนักคิดชีอะฮ์ยอมรับในหลักแห่งอัดล์, บทบาทของสติปัญญา, กลไกของโลกอันสอดคล้องกับวิทยปัญญา และอิสรภาพของมนุษย์ในการตัดสินใจ โดยไม่จำเป็นต้องหักล้างเตาฮี้ดซาตีหรืออัฟอาลีแต่อย่างใด ชีอะฮ์ยอมรับอิสระเสรีภาพของมนุษย์ในการตัดสินใจ แต่ก็มิได้ถือว่ามนุษย์เป็นภาคีของอัลลอฮ์ หรือมีอิทธิพลต่ออำนาจลิขิตของพระองค์ ยอมรับเกาะฎอเกาะดัรของอัลลอฮ์ แต่ไม่ยอมรับว่ามนุษย์ถูกบังคับให้เป็นไปตามเกาะฎอเกาะดัรเหล่านั้นโดยดุษณี

ความยุติธรรมในทัศนะของมุอ์ตะซิละฮ์นั้นมีอยู่เฉพาะเตาฮี้ดศิฟาตี (เอกานุภาพเชิงคุณสมบัติ) มิไช่เตาฮี้ดอัฟอาลี เนื่องจากเชื่อว่าเตาฮี้ดอัฟอาลีขัดแย้งกับหลักความยุติธรรมของพระองค์ พวกเขาให้นิยามเตาฮี้ดศิฟาตีว่า “ภาวะที่อาตมันของพระองค์ปราศจากซึ่งคุณสมบัติใดๆทั้งสิ้น” โดยไม่สามารถจะพิสูจน์ได้เสมือนชีอะฮ์ว่าอาตมันและคุณสมบัติของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกด้านหนึ่ง เตาฮี้ดอัฟอาลีของชีอะฮ์ก็ต่างจากเตาฮี้ดอัฟอาลีของอะชาอิเราะฮ์เช่นกัน เนื่องจากอะชาอิเราะฮ์นิยามว่า “ไม่มีสิ่งใดจะมีอานุภาพเว้นแต่จะเชื่อมโยงกับพระองค์เท่านั้น” อันหมายความว่าผู้ที่สร้างกริยาต่างๆของมนุษย์ก็คืออัลลอฮ์ โดยมนุษย์มิได้มีอานุภาพใดๆต่อกริยาของตนเองโดยสิ้นเชิง

ในขณะที่เตาฮี้ดอัฟอาลีของชีอะฮ์เน้นเกี่ยวกับเรื่องของบ่วงโซ่เชิงเหตุและผล โดยถือว่าทุกผลลัพธ์นอกจากจะเกิดจากเหตุที่อยู่ใกล้สุดแล้ว ยังเป็นอานุภาพจากพระองค์อีกด้วย ซึ่งทั้งสองประการนี้เชื่อมเป็นบ่วงโซ่ มิได้เป็นเอกเทศจากกัน

ด้วยเหตุนี้ เตาฮี้ดในมุมมองของชีอะฮ์จึงครอบคลุมเตาฮี้ดเชิงอาตมัน, เชิงอิบาดัต, เชิงคุณลักษณะ, เชิงกริยา ซึ่งล้วนสอดคล้องกับหลักความยุติธรรมของพระองค์ทั้งสิ้น

จึงกล่าวได้ว่าอุละมาชีอะฮ์อิมามียะฮ์ได้ปกปักษ์รักษาหลักความเชื่ออันชัดเจนของอิสลามให้พ้นจากข้อครหาใหม่ๆที่สังคมกาฟิรใช้โจมตี โดยได้อาศัยการผดุงเอกภาพระหว่างมุสลิม และอิงคำสอนจากกุรอาน ดุอาและฮะดีษที่เน้นการแสดงเหตุและผล ตลอดจนสร้างเสริมศักยภาพการคิดเกี่ยวกับสารธรรมอิสลาม และได้รับแรงบันดาลใจจากคุฏบะฮ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านอิมามอลี(อ.) ในฐานะที่เป็นผู้นำเสนอสารธรรมอิสลามเชิงวิเคราะห์เจาะลึกเป็นท่านแรก

ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นว่านักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่เลื่อมใสในแนวทางชีอะฮ์ บุคคลเหล่านี้สามารถผดุงไว้ซึ่งปรัชญาอิสลามวิถีชีอะฮ์ ดังที่นักประวัติศาสตร์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์เองก็ยอมรับว่าปัญญาของชีอะฮ์เป็นปัญญาแนวปรัชญามาตั้งแต่อดีตกาล อันหมายความว่านับแต่อดีตเป็นต้นมา แนวคิดชีอะฮ์เป็นแนวคิดเชิงปัญญาและการแสดงเหตุผลเสมอมา เหล่านี้ทำให้อุละมาชีอะฮ์สามารถใช้คำสอนของบรรดาอิมาม(อ.)พิสูจน์ให้ชาวโลกประจักษ์ถึงบทบาทสำคัญของหลักความยุติธรรมของอัลลอฮ์ที่ปรากฏในจารีตของพระองค์และบรรดาศาสดา

หลักความยุติธรรมของพระองค์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางชีอะฮ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าภายหลังการจากไปของท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.)ผู้เป็นปรมาจารย์แห่งวิวรณ์ ท่านอิมามอลี(อ.)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำท่านแรกตามทัศนะของชีอะฮ์ ทั้งสองท่านนี้ล้วนเป็นรูปจำลองของความยุติธรรมและความรักที่มีต่อพระองค์ ซึ่งมาตรว่าความยุติธรรมจะจำแลงเป็นมนุษย์ก็ย่อมกลายเป็นท่านนบี(ซ.ล.)และท่านอิมามอลี(อ.)อย่างแน่นอน

ในทางกลับกัน หากบุคลิกของทั้งสองท่านนี้แปรเป็นนามธรรมก็ย่อมจะกลายเป็น “ความยุติธรรม” เนื่องจากสองท่านนี้ต่างเปรียบดั่งจารีตของพระองค์ เหตุเพราะเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรม ดังที่พระองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับจารีตของท่านนบี(ซ.ล.)ว่า لَقَدْ كانَ لَكُمْ فِى رَسُولِ اللهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ...

ไม่เพียงแต่พระองค์จะทรงยกย่องท่าน หากแต่ยังถือว่าท่านคือแบบฉบับที่สมบูรณ์สำหรับมนุษยชาติทุกกาลสมัย และกำชับแก่มนุษยชาติให้ยึดถือแนวทางของท่านอีกด้วย[2]

 

 


[1] อัลอินซาน, อัตตักวี้ร, ฯลฯ

[2] ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mazaheb.ir/index.php?option=com_content&task=view&id=41&Itemid=37

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7356 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11572 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    7733 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    8014 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    6962 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11925 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • การเล่นนกพิราบในอิสลามมีกฎอย่างไรบ้าง, เพราะเหตุใด?
    7862 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    การกระทำดังกล่าวโดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหาทางชัรอียฺแต่อย่างใดแต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการกลั่นแกล้งคนอื่นหรือเพื่อนบ้านซึ่งในบางพื้นที่ประชาชนจะมองว่าเขาเป็นคนมักง่ายเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นมีปัญหา, ด้วยเหตุนี้มัรญิอฺตักลีดจึงได้มีทัศนะเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากกระทำนั้นไว้ดังนี้:สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอียฺ (
  • เกี่ยวกับวิลายะฮฺที่มีเหนือมุอฺมิน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอะอิมมะฮฺ, ท่านมีทัศนะอย่างไร?
    5730 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/23
    คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) มีรายละเอียดดังนี้ :บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) มีวิลายะฮฺทั้งวิลายะฮฺตักวีนีและตัชรีอียฺเหนือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แต่การปฏิบัติวิลายะฮฺขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8520 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59724 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57089 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41902 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38744 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38597 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33719 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27696 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27522 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27350 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25412 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...