การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11925
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2552/06/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa5484 รหัสสำเนา 27831
คำถามอย่างย่อ
ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
คำถาม
ก. ทิฐิหมายถึงอะไร? (ในกุรอาน) มีสาเหตุมาจากอะไร และเหตุใดคนเราจึงมีทิฐิ? ข. มีวิธีแก้อย่างไร? ค. ทิฐิคือการหวาดระแวงไช่หรือไม่? ง. กุรอานกล่าวถึงผู้มีอคติไว้ว่าอย่างไร? ควรปฏิบัติอย่างไรกับบุคคลประเภทนี้? 5. หากได้รับการเยียวยาแล้ว ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่มีนิสัยนี้อีก? 6. ผู้ที่มีทิฐิจะมีอคติต่อทุกคนหรือเฉพาะบางคน? กลุ่มใดบ้าง? (รวมถึงเพื่อนรักด้วยหรือไม่?) 7. จะต้องทำอย่างไรเพื่อมิให้มีนิสัยเช่นนี้? 8. ผลเสียของการมีอคติคืออะไรบ้าง? 9. อันตรายที่จะเกิดกับผู้ที่มีอคติมักจะเป็นอันตรายประเภทใด (จิตใจ ฯลฯ) หากเป็นไปได้กรุณาแจกแจงอันตรายทุกประเภท 10. หากผู้ที่มีอคติไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผู้อื่นจะได้รับอันตรายจากเขาหรือไม่? 11. อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีอคติกับอันตรายที่จะเกิดแก่ผู้อื่นและสังคม สิ่งใดมีมากกว่ากัน? 12. ผู้ที่ไม่ยอมปรับปรุงตัวในเรื่องนี้จะถูกลงโทษ (ในวันปรโลก) หรือไม่? 13. ผู้ที่มีอุปนิสัยดังกล่าวนอกจากจะทรมานใจแล้ว จะถูกอะซาบในปรโลกอีกหรือไม่? 14. นอกจากอะซาบในปรโลกแล้ว เขาจะถูกอะซาบในโลกนี้หรือไม่? 15. บุคคลประเภทนี้มีสถานะเช่นไรในสังคม? 16. การคบหาคนประเภทนี้จะส่งผลเสียต่อเราหรือไม่? นิสัยดังกล่าวจะระบาดถึงเราหรือไม่? 17. ผู้มีอคติมักจะเป็นคนหนุ่มสาวหรือมีอยู่ในทุกวัย กล่าวคืออุปนิสัยนี้จำกัดเฉพาะช่วงวัยใดเป็นการเฉพาะหรือไม่ หรือว่าสามารถพบเห็นได้ในทุกช่วงวัย? 18. นักจิตเวชมีความเห็นเกี่ยวกับบุคคลประเภทนี้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน

คำตอบเชิงรายละเอียด

การถือทิฐิและการมีอคติ หรือที่เรียกกันในแวดวงอิสลามว่า “ซูอุซ ซ็อนน์”นั้น ถือเป็นภาวะทางอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้ผู้นั้นหมดความเชื่อถือต่อผู้อื่น ทำให้มองเหตุการณ์ บุคคล และพฤติกรรมต่างๆด้วยสายตาที่เคลือบแคลง และมักจะตีความสิ่งที่เห็นในเชิงลบเสมอ การมีอคติหรือ ซูอุซ ซ็อนน์ถือเป็นบาปประเภทหนึ่ง ตรงข้ามกับการมีทัศนคติเชิงบวก (ฮุสนุซ ซ็อนน์) ซึ่งถือเป็นอุปนิสัยที่งดงาม

หากพิจารณาถึงฝ่ายตรงข้ามแล้ว สามารถจำแนกอคติของเป็นสี่ประเภทด้วยกัน
1. อคติต่อพระเจ้า
2. อคติต่อตนเอง
3. อคติต่อศัตรู
4. หวาดระแวงเพื่อนฝูงและคนใกล้ชิด

1. อคติต่อพระเจ้า
การมีอคติต่อพระเจ้าหมายถึงการมีทัศนคติเชิงลบต่อพระองค์ในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การมีอคติต่อความเมตตาของพระองค์ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจและต้องห้าม (ฮะรอม) พระองค์ทรงตรัสในอัลกุรอานว่า

لا تیأسوا من روح‏ الله انه لاییأس من روح الله الّا القوم الكافرون[1]

(จงอย่าสิ้นหวังในพระเมตตาของอัลลอฮ์ แท้จริง หามีผู้ใดสิ้นหวังในพระเมตตาของพระองค์ไม่ เว้นแต่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธ)
อคติประเภทนี้มิบังควรอย่างยิ่ง และถือเป็นบาปใหญ่ เพราะความเมตตาและอภัยธรรมของพระองค์แผ่ไพศาลยิ่ง ไม่บังควรที่จะสิ้นหวังจากพระเมตตาและอภัยธรรมของพระองค์แม้จะแบกบาปของมนุษย์และญินทั้งมวลไว้ก็ตาม[2]

ปัจจัยบางอย่าง อาทิเช่น การทำบาปมาก การไม่รู้จักพระองค์ ความตระหนี่ถี่เหนียว ฯลฯ สามารถจะส่งผลให้เกิดอคติต่อพระองค์ได้ มีฮะดีษระบุว่าความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นบ่อเกิดแห่งอคติต่อพระองค์[3]
เมื่อทราบถึงปัจจัยบางประการที่ก่อให้เกิดอคติต่อพระองค์แล้ว ก็ควรขจัดให้หมดไป เพื่อที่จะสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อพระองค์ ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า “จงมีทัศนคติเชิงบวกต่อพระองค์เถิด เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า ข้าให้ความสำคัญต่อทัศนคติเชิงบวก หากเขา (มนุษย์) มีทัศนคติที่ดี ก็จะได้รับสิ่งดีๆ แต่หากมีอคติ ก็ย่อมจะประสบกับสิ่งเหล่านั้น”[4]

2. อคติต่อตนเอง
การที่มนุษย์หลงตัวเองย่อมจะทำให้สถานภาพของตนตกต่ำและทำให้ผู้อื่นหมดศรัทธา ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า “ผู้ที่หลงตัวเองจะเป็นที่รังเกียจเดียดฉันท์ของผู้คนมากมาย”[5] ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีอคติต่อตนเองในลักษณะการถ่อมตนย่อมจะได้รับความสูงส่ง อิมามอลี (อ.) กล่าวว่า “การคงอคติต่อตนเองถือเป็นคุณลักษณะประการหนึ่งของผู้ยำเกรง” [6]

3. การไม่ไว้วางใจศัตรู
อคติประเภทนี้ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม เนื่องจากจะช่วยกำชับให้เราระวังเล่ห์เพทุบายของศัตรู เพราะบ่อยครั้งที่ศัตรูแสร้งหยิบยื่นมิตรภาพเพียงเปลือกนอก แต่แท้ที่จริงกลับจ้องที่จะทำลายเราได้ทุกเมื่อ จึงไม่อาจจะวางใจในคำพูดหรือพฤติกรรมของศัตรูได้เลย ท่านอิมามอลี (อ.) กล่าวแก่มาลิก อัลอัชตัรในตำรานะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ไว้ว่า “พึงระวังศัตรูแม้หลังจากสงบศึก เพราะบางครั้งศัตรูเข้าใกล้เพื่อลอบจู่โจม ฉะนั้นจงมีวิจารณญาณที่กว้างไกล และจงตำหนิทัศนคติเชิงบวกในกรณีนี้”[7]

4. อคติต่อเครือญาติ มิตรสหาย และพี่น้องผู้ศรัทธา
เข้าใจว่าคำถามของคุณคงเกี่ยวกับกรณีนี้เป็นหลัก อิสลามสอนว่าการหวาดระแวงเครือญาติ มิตรสหาย พี่น้องผู้ศรัทธานั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมที่เราอาศัยอยู่เป็นหลัก

ก. หากอาศัยอยู่ในสังคมที่กระทำบาปกันเป็นอาจิน คราคร่ำไปด้วยความอยุติธรรม โดยที่แต่ละคนคิดเพียงสนองความโลภโมโทสะของตนเอง แน่นอนว่าในสังคมเช่นนี้ หลักเบื้องต้นก็คือการไม่ไว้วางใจ ดังที่ท่านอิมามฮาดี (อ.) กล่าวไว้ว่า “เมื่อถึงกลียุคที่ความยุติธรรมเสียท่าแก่การกดขี่ ไม่ควรมองโลกในแง่ดีนอกจากจะเป็นที่ชัดเจนแล้วเท่านั้น”[8]

ข. แต่หากอาศัยอยู่ในสังคมที่มีพื้นฐานความยุติธรรม อีกทั้งแวดล้อมด้วยผู้ศรัทธาจำนวนมาก ในกรณีเช่นนี้จะต้องมีทัศนคติเชิงบวกเข้าไว้ โดยต้องหลีกเลี่ยงการถืออคติ เนื่องจากจะต้องไว้วางใจต่อสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไว้วางใจกันและกัน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงหลีกเลี่ยงทัศนคติบางประการต่อกันและกันเถิด เพราะการคาดเดาบางประการถือเป็นบาป...”[9] ท่านอิมามฮาดี (อ.) กล่าวว่า “เมื่อถึงยุคทองที่ความยุติธรรมมีชัยเหนือการกดขี่ เป็นเรื่องต้องห้ามที่จะมีอคติต่อผู้อื่น เว้นแต่ความบกพร่องดังกล่าวจะเป็นที่ประจักษ์แล้วเท่านั้น”[10] อิสลามถือว่าเกียรติยศของมุสลิมจะต้องได้รับการปกปักษ์รักษาเป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงปกปักษ์รักษาด้วยการห้ามมิให้มีอคติต่อกัน บรรดานักอรรถาธิบายกุรอานอธิบายความหมายของ “การคาดเดา”ว่าหมายถึงการมีอคติต่อพี่น้องมุสลิม[11]
ด้วยเหตุนี้เอง ในเบื้องต้นมุสลิมจะต้องถือว่าการกระทำของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะถือว่าสิ่งนั้นถูกต้องก็ตาม ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้ว่า “จงเฟ้นหาเหตุผลสำหรับพฤติกรรมที่พี่น้องของเธอกระทำไป แต่ถ้าไม่พบก็จงรังสรรค์ขึ้นมาเอง”[12]

ส่วนคำถามอื่นๆที่เกี่ยวกับอคตินั้น ทางเราขอตอบตามลำดับดังต่อไปนี้โดยสังเขป

สาเหตุของการมีอคติคืออะไร?

การมีอคติมีสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้
1. มีจุดบกพร่องทั้งภายนอกและภายใน- บุคคลที่มีข้อบกพร่องย่อมจะมองผู้อื่นเสมอเหมือนตนเองเสมอ
2. คบคนพาล – หากคบค้าสมาคมกับคนชั่ว ย่อมจะคิดว่าผู้อื่นก็เป็นอย่างนั้น เพราะคิดว่าเพื่อนฝูงของตนเป็นตัวแทนของคนในสังคม ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวไว้ว่า “การคบหาคนชั่วจะทำให้เกิดอคติกับคนดี”[13]
3. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ฟอนเฟะ
4. มีปมด้อย – ผู้ที่ขาดความมั่นใจในตัวเองหรือถูกเหยียดหยันจากคนรอบข้างนั้น มักจะมองผู้อื่นด้วยสายตาที่เย้ยหยันเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อลบปมด้อยของตนเองและปลอบใจด้วยเหตุผลจอมปลอม

วิธีปลดเปลื้องอคติ

1. เสริมสร้างปัญญา – การถืออคติเกิดจากความบกพร่องทางความคิด ทำให้คล้อยตามเรื่องที่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด อิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “การมีทัศนคติเชิงบวกถือเป็นคุณลักษณะจำเพาะของเหล่าผู้ทรงปัญญา”[14]
2. หลีกเลี่ยงการทรนงตน
3. ถือเสียว่าถูกต้อง – คนเราควรมองผู้อื่นบนพื้นฐานของเกียรติยศแห่งความเป็นมนุษย์

การมีอคติก็คือการมีทัศนคติเชิงลบไช่หรือไม่?
การมีอคติมิได้ต่างไปจากการมีทัศนคติเชิงลบ (ซูอุซ ซ็อนน์)

กุรอานมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับผู้ถืออคติ
กุรอานถือว่าภาวะดังกล่าวถือเป็นบาปประเภทหนึ่ง ดังที่ระบุไว้ว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงหลีกเลี่ยงการคาดเดาหลากหลายประเภท เพราะการคาดเดาบางประเภทถือเป็นบาป”[15]

หากปรับปรุงตัวได้แล้ว ควรทำอย่างไรไม่ให้อุปนิสัยนี้ย้อนกลับมาอีก?
หลังจากขจัดอุปนิสัยนี้ได้แล้ว แน่นอนว่าจะต้องระมัดระวังมิให้สาเหตุของอคติเกิดขึ้นอีกเป็นอันขาด เพื่อจะได้ไม่ประสบกับอคติอีก

ผู้ที่ถืออคติมักมีอคติกับทุกคน หรือเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น?
ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวในเรื่องนี้ เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ระดับของอคติ และสาเหตุของอคตินั้นๆ บางคนอาจจะมีอคติกับบุคคลบางคนเนื่องจากตั้งตนเป็นศัตรูหรืออิจฉาริษยาคนๆนั้นเป็นการเฉพาะ โดยมิได้มีอคติกับคนอื่นๆ บางคนอาจมีอคติกับบุคคลบางคนเนื่องจากความใกล้ชิดและความคาดหวัง เช่น คาดหวังจะได้รับความเอาใจใส่จากบางคนแต่กลับไม่ได้รับ ซึ่งมักจะมองว่ามีเจตนาด้านลบ
แต่บางคนมีอคติที่หยั่งรากลึกถึงแก่นของบุคลิกภาพ ทำให้มีอคติต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง บุตร เพื่อนสนิท ฯลฯ ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “มากกว่าสองในสามของผู้คนป่วยเป็นโรคนี้”[16]

การถืออคติทำให้ถูกลงทัณฑ์หรือไม่?
ลำพังการจินตนาการในความคิดย่อมไม่ไช่บาป แต่ประเด็นที่ศาสนาได้ห้ามไว้ก็คือการที่บุคคลมีอคติต่อผู้อื่นในลักษณะที่ปักใจเชื่อและเริ่มปรากฏทางพฤติกรรมภายนอก[17] จึงกล่าวได้ว่าอคติมีสามขั้นด้วยกัน 1. อคติในใจ 2. อคติทางวาจา 3. อคติเชิงปฏิบัติ  สิ่งที่แล่นเข้ามาในจิตใจย่อมอยู่นอกศาสนบัญญัติ เนื่องจากอยู่นอกขอบเขตการควบคุม แต่สิ่งที่ศาสนาห้ามไว้ก็คืออคติทางวาจาและการปฏิบัติ[18]

บาปประเภทนี้อาจเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนในทุกช่วงวัย กล่าวคือสิ่งที่กุรอานต้องการจะสื่อถึง “การหลีกเลี่ยงการคาดเดา”นั้น มิไช่การห้ามคาดเดา เพราะการคาดเดาเป็นการรับรู้ทางจิตใจประเภทหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วหัวใจย่อมเปิดกว้าง ทำให้ไม่สามารถจะสกัดกั้นความคิดบางประเภทมิให้โลดแล่นในใจได้ ฉะนั้นจึงมิได้สื่อถึงการห้ามคาดเดา แต่โองการต้องการจะสื่อว่าห้ามคล้อยตามการคาดเดาเชิงลบ เสมือนจะสอนว่าหากมองผู้อื่นในแง่ลบก็จงอย่านำมาเป็นเครื่องตัดสินใจ ฉะนั้น ในกรณีที่มีการกล่าวถึงผู้อื่นในแง่ลบซึ่งทำให้เกิดทัศนคติเชิงลบกับบุคคลดังกล่าว หากเราคล้อยตามและเริ่มนำสู่ภาคปฏิบัติด้วยการตำหนิหรือกล่าวหาบุคคลนั้นตามที่ได้ยินมา หรือแสดงท่าทีอื่นๆตามทัศนคติเชิงลบที่มี เหล่านี้ถือเป็นผลพวงของอคติซึ่งล้วนเป็นบาปและเป็นสิ่งต้องห้ามทั้งสิ้น[19] โดยผู้ที่ฝ่าฝืนย่อมจะถูกลงทัณฑ์ในปรโลก

ผลเสียของการถืออคติมีดังนี้
1. ขาดความปลอดภัยในสังคม – ผู้มีอคติย่อมก้าวล่วงเกียรติภูมิของพี่น้องมุสลิม
2. อยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้าน – ผู้ถืออคติมักจะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของพี่น้องมุสลิมเพื่อแสวงหาประจักษ์พยานที่จะยืนยันความถูกต้องของอคติของตน
3. เป็นโรคนินทาพี่น้องผู้ศรัทธา[20] – เมื่อมีอคติกับผู้ใด เขาย่อมถือวิสาสะที่จะนินทาบุคคลนั้น[21]
4. สูญเสียผลบุญของอิบาดะฮ์ – อิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “จงหลีกเลี่ยงการคาดเดาในเรื่องไม่ดีไม่งาม เพราะจะทำลายอิบาดะฮ์และจะขยายบาปให้ใหญ่หลวง”[22]
5. สูญเสียมิตรสหายและอยู่อย่างเดียวดาย – อิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “บุคคลที่เพลี่ยงพล้ำต่ออคติ ย่อมจะสูญเสียหนทางคืนดีกับมิตรสหายทุกราย”[23]
6. ก่อให้เกิดความกลัว ความตระหนี่ และความโลภ – ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ว่า “โอ้อลี ความหวาดกลัว ความตระหนี่ และความโลภคือกิเลสที่ถือกำเนิดจากอคติ”[24]

ส่วนทัศนคติของนักจิตเวชเกี่ยวกับผู้ถืออคตินั้น สามารถศึกษาได้จากหนังสือที่นักจิตเวชเขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ

 


[1] ซูเราะฮ์ยูซุฟ,87

[2] ซัยยิดอับดุลฮุเซน ฏ็อยยิบ,อัฏยะบุ้ลบะยาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 9,หน้า 416 และ 417 ,สำนักพิมพ์อิสลาม,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สอง,ปี 1378

[3] อะซีซุลลอฮ์ อะฏอรุดี, อีมานและกุฟร์,แปลจากอัลอีมานวัลกุฟร์,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 1 หน้า 550,สำนักพิมพ์อะฏอรุด,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1378

[4] เพิ่งอ้าง,เล่ม 2,หน้า 65

[5] อัลลามะฮ์ มัจลิซี, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 69 ,หน้า 317, من رضى عن نفسه كثر الساخطون عليه

[6] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,คุฏบะฮ์ที่ 193, فهم لانفسهم متهمون و من اعمالهم مشفقون اذا زكى احدهم خاف مما یقال له

[7] เพิ่งอ้าง,จดหมายฉบับที่ 53

[8] มุฮัมมัด มุฮัมมะดี เรย์ชะฮ์รี, มีซานุ้ลฮิกมะฮ์,เล่ม 7,หน้า 3401

[9] อัลฮุจุร้อต,12 یا ایها الذین آمنوا اجتنبوا کثیرا من الظن ان بعض الظن إثم

[10] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์,เล่ม 7,หน้า 3401

[11] โปรดศึกษาจากตัฟซี้รซูเราะฮ์ฮุญุร้อต โองการที่ 12

[12] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์,เล่ม 12, عن رسول الله (ص) قال: اطلب لاخیک عذرا فانلم تجد له عذرا فالتمس له عذرا

[13] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 71,หน้า 197,สถาบันอัลวะฟาอ์,เบรุต,ปีฮ.ศ. 1404 الامام علی (ع) قال: مجالسة الاشرار تورث سوء الظن بالاخیار

[14] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์,เล่ม 7,หน้า 3392

[15] ฮุญุร้อต,12

[16] กุลัยนี, อุศูลุลกาฟี, เล่ม 2,หน้า 412,พิมพ์ครั้งที่สี่, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1365
 قال صادق (ع): یا اسحاق کم تری اهل هذا الآیة، "ان عطوا منها رضوا و ان لم یعطوا منها اذا هم یسخطون"، قال ثم قال هم اکثر من ثلثی الناس

[17] ฟัยฎ์ กาชานี,อัลมะฮัจญะตุ้ลบัยฎออ์, เล่ม 5,หน้า 268

[18] เฏาะบัรซี, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, คำแปลมัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 23,หน้า 218 และ 219,สำนักพิมพ์ฟะรอฮอนี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1390

[19] คำแปลอัลมีซาน,เล่ม 18,หน้า 483

[20] ดัสต์เฆ้บ, ซัยยิดอับดุลฮุเซน,กัลเบซะลีม,เล่ม 2,หน้า 183-185

[21] มุศเฏาะฟะวี,ฮะซัน,คำแปลของมุศเฏาะฟะวี,ตัวบท,หน้า 207,สำนักพิมพ์สมาคมอิสลามแห่งปรัชญาอิหร่าน,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1360

[22] อธิบายฆุเราะรุ้ลฮิกัม,เล่ม 2,หน้า 308الامام علی (ع) قال: "ایاک ان تبسی الظن فان سوء الظن تفسد العباده و یعظم الوزر".

[23] เพิ่งอ้าง,เล่ม 5,หน้า 406, الامام علی (ع) قال: "من غلب علیه سوء الظن لم یترک بینه و بین خلیل صلحا"

[24] อะฏอรุดี,อะซีซุลลอฮ์,อีมานและกุฟร์,แปลจากอีมานวัลกุฟร์ใน บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 73

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11211 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • เมื่อพิจารณาโองการต่างๆ และรายงานฮะดีซแล้ว ช่วยชี้แนะด้วยว่าระหว่างเกียรติยศและความประเสริฐของอัลกุรอานกับอะฮฺลุลบัยตฺ สิ่งไหนสูงกว่ากัน?
    6394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/21
    รายงานต่างๆจำนวนมากมายเช่นฮะดีซซะเกาะลัยนฺและอิตรัต, ได้ถูกแนะนำว่าเป็นสองสิ่งหนักที่มีความเสมอภาคกัน, ใช่แล้วบางรายงานฮะดีซเฉกเช่นสิ่งที่กล่าวไว้ในฮะดีซซะเกาะลัยนฺ
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    10141 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    5947 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    6643 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8700 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6834 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9919 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14885 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5550 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59719 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57081 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38738 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33716 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27694 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27516 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27345 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25407 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...