การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
27302
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa857 รหัสสำเนา 11566
คำถามอย่างย่อ
ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
คำถาม
ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกัน

แหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้ เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้ กราบสุญูดอาดัม แต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบ

บางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้น อิบลิส ต้องมาจากมวลมะลาอะกะฮฺแน่นอน

คำตอบ : การยกเว้นอิบลิสซาตานไว้ในหมู่มลาอิกะฮฺ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าชัยฎอนเป็นพวกเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ แต่ในที่สุดโน้มนำไปสู่เหตุผลว่า อิบลิสซาตาน (เป็นผู้นมัสการพระเจ้านานหลายปี) อยู่ในหมู่มลาอิกะฮฺในระดับต้นๆ  แต่ต่อมาเพราะความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นและไม่เชื่อฟังพระเจ้าเขา,จะถูกขับออกจากสวนสวรรค์

คำยืนยันบนคำกล่าวอ้างดังกล่าวคือ

1. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลกะฮฺฟิว่าชัยฏอน (ซาตาน) มาจากญิน

2. พระเจ้าทรงขจัดบาปและความผิดออกไปจากมลาอิกะฮฺโดยทั่วไป ดังนั้น มลาอิกะจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่บริสุทธิ์ และไม่เคยทำบาป, ไม่เคยปองร้าย, ไม่เคยหลงตัวเอง, ไม่เคยหยิ่งยโสและ ...ฯลฯ

3. อัลกุรอานบางโองการกล่าวถึง บรรพบุรุษของชัยฏอน ซึ่งประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ชัยฏอน นั้นมีความเหมาะสมและมาจากหมู่มวลของญินแน่นอน ในขณะที่มลาอิกะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจิตวิญญาณ (ภาวะนามธรรม) จึงไม่มีปัญหาด้านการกินการดื่มแต่อย่างใด

4.  อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบางโองการว่า ทรงมอบให้บรรดามลาอิกะฮ์เป็นเราะซูลของพระองค์ เราะซูล หมายถึง ผู้ที่ถูกส่งมาจากพระเจ้า และผู้ที่เป็นเราะซูลของพระองค์นั้นจะไม่กระทำความผิดอย่างแน่นอน ดังนั้น ชัยฏอนได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แล้วจะเป็นมลาอิกะฮฺได้อย่างไร

นอกเหนือจากนี้ ความเห็นพร้องกันของบรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่ ตลอดจนรายงานที่เชื่อได้จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ที่มาถึงมือเราแสดงให้เห็นว่า : ซาตานไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ และเป็นที่เรารู้กันดีว่าความหน้าเชื่อถือ (ตะวาตุร) เป็นหนึ่งในสื่อที่สำคัญที่สุดสำหรับการค้นหาความถูกต้องของรายงาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

องค์รวมและสาเหตุหลักของคำถามนี้ อยู่ที่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (.) เมื่อพระเจ้าทรงประสงค์ที่จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มลาอิกะฮฺได้ทูลถามพระองค์ด้วยความเคารพและความสุภาพที่สุดว่า : พวกเราเคารพและถวายสดุดีต่อพระองค์ยังจะไม่เพียงพออีกหรือ แน่นอน พระองค์จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อการใด ครั้นเมือพระองค์สาธยายความลึกลับของการสร้างมนุษย์ แล้วตรัสว่า มนุษย์คือตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน มวลมลาอิกะฮฺจึงได้น้อมรับคำเชิญ (ให้ก้มกราบอาดัม (.)) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและด้วยความจริงใจ และทั้งหมดได้ก้มกราบสุญูดต่ออาดัม ในหมู่บรรดามลาอิกะฮฺ หรือดีกว่าที่จะพูดว่าชัยฏอนได้อยู่ในแถวของมลาอิกะฮฺด้วยในเวลานั้น ซึ่งเขาได้นมัสการพระเจ้ามาอย่างช้านาน แต่ความเร้นลับที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของชัยฏอนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ยกเว้นผู้ทรงอำนาจยิ่ง ความลับที่ถูกซ่อนเร้นมาอย่างยาวนาน แต่บัดนี้มันได้ถูกเปิดเผยออกแล้วในระหว่างการสร้างของอาดัม (.) การปฏิเสธศรัทธาของชัยฏอนนั่นเอง แน่นอน เขาได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธามาอย่างช้านานแล้ว แต่ความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นได้ถูกเปิดเผยขณะที่ไม่ยอมก้มกราบอาดัม (.)  ซึ่งการปฏิเสธศรัทธาที่ซ่อนไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมาด้วย

เมื่ออัลลอฮฺตรัสแก่มลาอิกะฮฺทั้งหมดและอิบลิส (ผู้เป็นหนึ่งในพวกเขาซึ่งได้แสดงความเคารพบูชามาอย่างช้านาน) ว่า : พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด มลาอิกะฮฺทั้งหมดได้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ยกเว้นอิบลิสผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่สุญูด ซึ่งอิบลิสได้อ้างว่า: ฉันได้ถูกสร้างขึ้นจากไฟส่วนเขาถูกสร้างขึ้นจากดิน แล้วจะให้สิ่งที่ดีกว่าก้มกราบสิ่งที่ด้อยกว่าได้อย่างไร ?

ประหนึ่งว่า ซาตาน ไม่รู้แก่นแท้ความจริงของอาดัม ! ว่าอันที่จริงแล้วจิตวิญญาณจากพระเจ้าได้ถูกเป่าเข้าไปบนอาดัม ซึ่งแก่นแห่งเป็นมนุษย์ และคุณค่าของสำคัญของโลกแห่งความเร้นลับซึ่งมาจากพระผู้อภิบาลของเขาได้ถูกเป่าไปบนอาดัมทั้งสิ้น แน่นอน ในความคิดของซาตานจึงคิดว่าธาตุไฟนั้นดีกว่าธาตุดิน กระนั้นแม้ในการเปรียบเทียบของเขาก็ยังมีความผิดพลาดอยู่ดี แต่จะยังไม่อธิบายในที่นี้เนื่องจากเขาเห็นอาดัมแต่เพียงทางกายภาพของความเป็นมนุษย์ แต่หลงลืมด้านจิตวิญญาณของอาดัม ด้วยเหตุนี้เอง ชัยฎอนจึงได้แดสง 2 ปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับสองการกระทำ เขาจึงได้ถูกขับออกจากสวนสวรรค์เนรมิตของพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ปฏิกิริยาแรกของชัยฏอนคือ ความภาคภูมิใจของตนที่มีต่อการสร้างมนุษย์ ส่วนปฏิกิริยาที่สอง, ความหยิ่งยโส, และขั้นสุดท้ายของความดื้อรั้นในการฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ พวกเขาได้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้ามากน้อยเพียงใด มีความมั่นคงในพฤติกรรมมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือลำดังต่อไปจะขออธิบายคำบางคำก่อ :

() ชัยฏอน () อิบลิส () มลาอิกะฮฺ () ญิน

) ชัยฏอนซาตานมารร้าย : คำว่า ชัยฏอน มาจากคำว่า ชะฏะนะ และ ชาฏินะ หมายถึง สิ่งที่เป็นความชั่วร้ายและเกเรดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังดื้อดึง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ญิน หรือสิ่งมีชีวิตอื่น  ก็ตาม หรือให้ความหมายว่า จิตวิญญาณชั่วร้ายที่ออกห่างจากจริงก็มี ซึ่งหมายความว่าในแง่ที่เป็นจุดร่วม จะให้ความหมายควบคุมทั่วไปทั้งหมด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแง่นี้ทั้งหมดเหมือนกัน

ดังนั้น คำว่า ชัยฏอน จึงเป็นคำนามหนึ่ง (เพศคำนาม) ซึ่งหมายถึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและอันตรายและก่อให้เกิดการหลงผิด ใช้ได้ทั้งกับทุกสิ่งที่มีอยู่ (ไม่ว่าจะมนุษย์หรือไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม)

ในพระคัมภีร์อัลกุรอานและคำกล่าวของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (.) กล่าวว่า ชัยฏอนซาตานมารร้าย ไม่ได้ระบุเจาะจงเฉพาะว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทว่าบางครั้งหมายถึงมนุษย์ที่ชั่วร้าย หรือมีมารยาทหยาบคาย เช่น อิจฉาริษยา, ก็เรียกว่า ชัยฏอน เหมือนกัน[1]

) อิบลิส : เป็นคำนามเฉพาะ (อะลัม) ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวที่ตรงกับความเป็นจริง เขาเป็นคนแรกบนโลกนี้ที่ได้ฝ่าฝืนและก่อบาปกรรมขึ้น และ  เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเขาได้วิวาทเพื่อเรียกร้องความเป็นอิสระ เขาได้หลงตนเองและแสดงความหยิ่งจองหอง และปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้า และในที่สุดก็ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตรนั้น

นามอื่นของ อิบลิส คือคือ อะซาซีล[2] ส่วนคำว่า อิบลิส มาจากคำว่า "อิบลาส" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็น ฉายานามหนึ่ง อิบลาส คือการสิ้นหวัง ซึ่งบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากอิบลิส สิ้นหลังในความเมตตาของพระเจ้า จึงได้รับฉายานามนี้

) มลาอิกะฮฺ : เพียงพอแล้วที่จะกล่าวถึงคุลักษณะบางส่วนที่เหมาะสมของมลาอิกะฮฺ เพื่อที่เราจะได้รับบทสรุปว่า มวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย ไม่มีวันที่จะกระทำความผิดและบาปกรรมใด  ได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ชัยฏอนซาตานมารร้ายจึงไม่สามารถมาจากประเภทของมลาอิกะฮฺได้เด็ดขาด[3]

มลาอิกะฮฺ คือการมีอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งพระเจ้าได้อธิบายถึงคุณลักษณะทีดีเกี่ยวกับพวกเขาไว้ในอัลกุรอาน เช่นบางโองการกล่าวว่า :

بَلْ عِبادٌ مُکْرَمُون‏، لا یَسْبِقُونَهُ بِالْقَوْلِ وَ هُمْ بِأَمْرِهِ یَعْمَلُون

" (มะลาอิกะฮ์) เป็นบ่าวผู้มีเกียรติ พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์"[4]

ซึ่งจะเห็นว่าจนกระทั้งถึงวินาทีสุดท้าย มลาอิกะฮฺก็จะไม่กระทำสิ่งที่ขัดต่อสัจธรรมความจริง พวกอยู่ในสภาพของการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระผู้อภิบาลเสมอ เป็นสิ่งที่มีอยู่ที่สะอาดบริสุทธิ์ ตัวตนของมลาอิกะฮฺสะอาด ฉะนั้นจึงไม่มีวันที่พวกเขาจะเกลือกกลั้วกับบาปกรรมอย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้การเชื่อฟังพระเจ้าอยู่ในสายเลือดของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจะไม่แสดงความอ่อนแอและไร้ความสามารถในสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่แสดงความยโสโอหังต่อสิ่งที่ตนรู้เด็ดขาด เนื่องจาก พวกเขาเชื่อมั่นว่า การมีอยู่ของพวกเขาล้วนมาจากพระผู้อภิบาลทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าพวกเขาฝ่าฝืนคำสั่งแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งที่พวกเขารู้ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นความโง่เขลาทันที

ดังนั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมลาอิกะฮฺ กับชัยฏอนอยู่ที่เรื่องราวการสร้างและการก้มกราบอากดัม เนื่องจากมลาอิกะฮฺได้ล่วงรู้อย่างชัดเจนด้วยจิตเบื้องลึกว่า พวกตนไม่เข้าใจและไม่รู้เกี่ยวกับพระนามอันไพจิตรของพระเจ้า หมายถึงพวกเขาทราบเป็นอย่างดีว่า พวกเขาไม่รู้ แต่ส่วนชัยฏอนนั้นด้วยความดื้อรั้นและความยโสโอหังที่มีอยู่ในสายเลือด จึงได้คิดว่าตนรู้ดีทุกอย่าง ฉะนั้น ชัยฏอน จึงไม่เข้าใจคำสั่งของพระเจ้า ที่สั่งให้ก้มกราบอาดัมเนื่องจากความรู้ของพระเจ้าที่เพิ่มเติมไปบนอาดัม ความคิดที่มืดมิดของชัยฏอนจึงได้ปิดกั้นไม่เปิดโอกาสให้เขาได้เข้าใจในวิชาการเหล่านั้น ในความหมายก็คือ ความอคติ ความจองหองอวดดีคืออุปสรรคสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ และในที่สุดแล้วชัยฏอนก็ไม่ได้ก้มกราบอาดัม มันเป็นการปฏิเสธของผู้มีความยโสโอหัง ไม่ใช่ว่าเขาไม่สามารถก้มกราบได้!

ด้วยคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหลายเป็นผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ความผิดบาปไม่อาจปรากฏในหมู่พวกเขาได้อย่างแน่นอน เมื่อไม่มีทางกระทำความผิด ดังนั้นผลงานทั้งหมดของพวกเขาจึงได้กระทำไปเพื่อการภักดีในพระเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อการเชื่อฟังคำสั่งเป็นวาญิบและมีสำคัญยิ่งแล้ว ความผิดบาปก็จะถูกสั่งห้ามและถูกปิดกลั้นไปโดยปริยาย (นี่เป็นเหตุผลแรก ทางสติปัญญาที่ยืนยันให้เห็นความแตกต่างระหว่างชัยฏอนกับมลาอิกะฮฺ)

แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุผลและหลักฐานอื่น  ทางปัญญา จะอธิบายสั้น  เกี่ยวกับ ญิน เสียก่อน

) ญิย : ญิน ตามรากเดิมแล้วหมายถึง สรรพสิ่งนั้นที่ถูกปกปิดไปจากความรู้สึกของมนุษย์ อัลกุรอานยืนยันถึงการการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตประเภท ญิน เอาไว้ ซึ่งอัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า พวกเขาเช่นกันเป็นสรรพสิ่งหนึ่งที่มาจากไฟ ส่วนมนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นจากดิน อย่างไรก็ตามการสร้างญินนั้นมีมาก่อนการมนุษย์[5]

นักวิชาการบางคน อธิบายว่า ญิน เป็นจิตวิญญาณประเภทหนึ่งที่มากด้วยสติปัญญา ปราศจากภาวะวัตถุ แต่ไม่ได้เป็นภาวะนามธรรมสมบูรณ์แต่อย่างใด เนื่องจากบางสิ่งบางอย่างที่สร้างขึ้นจากไฟ มีสภาพเป็นวัตถุและเป็นกึ่งสภาวะของนามธรรม, หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าเป็นชนิดของวัตถุที่ละเอียดอ่อน[6]

จากโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่า ญิน ก็เป็นประเภทหนึ่งที่คล้ายเหมือนมนุษย์เช่นกัน มีสติปัญญา มีความต้องการ และความรู้สึก สามารถทำงานหนักได้ ญินมีทั้งผู้ศรัทธาและปฏิเสธศรัทธา ญินบางคนเป็นบ่าวบริสุทธิ์ บางคนก็เป็นผู้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินเช่นเดียวกับมนุษย์, ญินมีชีวิต ความตาย และมีการคืนชีพเช่นเดียวกัน ... มีเพศชายและเพศหญิง มีการแต่งงานและมีการขยายเผ่าพันธุ์เหมือนกัน

แต่ประเด็นหลักในที่นี้คือ อิบลิส มาจากมลาอิกะด้วยหรือไม่ ในหมู่นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ซึ่งที่มาของข้อพิพาทนี้ บางที่อาจเป็นการยึดถืออัลกุรอานบางโองการและการตีความที่ต่างกันออกไป

บางคนกล่าวว่า ซํยฏอนมารร้าย (อิบลีส) มาจากมลาอิกะฮฺ เหตุผลหลักของพวกเขาก็คืออัลกุรอานบางโองการที่กล่าวว่า

واذ قلنا للملایکة اسجدوا لآدم فسجدوا الا ابلیس

"จงรำลึกถึง ขณะที่เรากล่าวแก่มลาอิกะฮฺว่า พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด แล้วพวกเขาก็ก้มกราบยกเว้นอิบลีส"[7] เนื่องจากโองการนี้ ได้ยกเว้นอิบลิสออกไปจากการก้มกราบ ส่วนผู้ที่ถูกยกเว้นไปจากพวกเขาคือ มลาอิกะฮฺ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อิบลิส มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ

แต่ตามความเป็นจริงแล้ว อิบลิส ไม่อาจมาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺได้ รายงานที่เชื่อถือได้ (มุตะวาติร) จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ซึ่งบรรดาอิมามมีความเห็นพร้องต้องกัน และเน้นย้ำว่า อิบลิส นั้นมาจากหมู่ญินไม่ใช่มลาอิกะฮฺ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้หลายเหตุผลด้วยกันกล่าวคือ

1. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า "อิบลีสอยู่ในจำพวกญิน[8]

2. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า

لایعصون اللَّه ما اَمَرهم و یفعلون ما یؤمرون

พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา[9] พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับมลาอิกะฮฺว่า : ไม่มีทางที่พวกเขาจะฝ่าฝืนพระบัญชาของพระเจ้า หมายถึงโดยทั่วไปแล้วพระองค์ปฏิเสธบาปกรรมให้พ้นไปจากมลาอิกะฮฺ ซึ่งเข้าใจได้ว่าประการแรก ไม่มีมลาอิกะฮฺองค์ใด และประการที่สอง ไม่มีการทำความผิดบาปใด  ทั้งสิ้น

3. อัลลอฮฺ ตรัสว่า

افتتخذونه وذُرتیه اولیاء من دونى وهُمُ لکم عدو

"พวกเจ้าจะยึดเอามันและวงศ์วานของมัน เป็นผู้คุ้มครองอื่นจากข้ากระนั้นหรือหรือ? ทั้งๆ ที่พวกมันเป็นศัตรูกับพวกเจ้า[10] ประเด็นดังกล่าวนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าในหมู่ญินและวงศ์วานของเขา หรืออีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ในหมู่พวกเขามีการสืบสกุลวงศ์ ขณะที่ในหมู่มลาอิกะฮฺมีการสร้างในลักษณะของจิตวิญญาณ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะไม่มีในหมู่พวกเขา

4. อัลลอฮฺ ตรัสว่า "ผู้ทรงแต่งตั้งมะลาอิกะฮฺให้เป็นผู้นำข่าว[11] และเราทราบเป็นอย่างดีว่าการปฏิบเสธและการทำความผิดสำหรับเราะซูลแล้วเป็นไปไม่ได้ และไม่อนุญาตให้กระทำ

แต่คำตอบสำหรับบุคคลที่กล่าวว่า อิบลิสได้รับการยกเว้นจากหมู่มลาอิกะฮฺ จำเป็นต้องกล่าวว่า การยกเว้น ชัยฏอน ออกไปจากมลาอิกะฮฺไม่ได้บ่งบอกเลยว่า ทั้งสองมลาอิกะฮฺและญินเป็นประเภทเดียวกัน สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากโองการก็คือ อิบลิส อยู่ในแถวเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ และอยู่ในหมู่พวกเขาซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการก้มกราบเฉกเช่นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ บางคนกล่าวว่า การยกเว้นในโองการดังกล่าว เป็นการยกเว้นประเภทไม่ต่อเนื่อง (มุงกะฏิอ์) หมายถึง สิ่งที่ได้รับการเว้นไปจากพวกเขาไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในประโยค[12]

ขณะที่มีคำกล่าวถึงอิบลิสว่า พวกเขาแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านานถึง 6000 ปี ดังนั้น การจัดให้การมีอยู่ประเภทนี้ร่วมกับมลาอิกะฮฺ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด และมีความเป็นไปได้

ท่านอิมามซอดิก (.) ได้ถูกถามว่า อิบลิสมาจากมวลมลาอิกะฮฺหรือไม่ หรือเป็นประเภทหนึ่งจากมวลสรรพสิ่งทั้งหลายแห่งฟากฟ้า ท่านกล่าวว่า : ไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺและสิ่งมีชีวิตอื่น  ในฟากฟ้าแต่อย่างใด ทว่าอิบลิสมาจากหมู่มวลของญิน เพียงแต่ได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งมลาอิกะฮฺเองก็คิดว่าเขามาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺเช่นกัน แต่อัลลอฮฺ ทรงทราบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และเรื่องนี้ได้ดำเนินมาจนถึงกาลเวลาที่พระองค์ได้มีบัญชาให้มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหมดก้มกราบต่ออาดัม ความลับของอิบลิสที่ซ่อนอยู่อย่างช้านานก็ได้เปิดเผยออกมา[13]

แหล่งอ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม :

1. มัรฮูม เฏาะบัรระซีย์ มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 1 หน้า 163 ตอนอธิบายโองการ 34  บทบะเกาะเราะฮฺ

2 . อัลลามะฮฺ มูฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 122 เป็นต้นไป และเล่ม 8 , หน้า 20 เป็นต้นไป

3. อับดุลอฮฺ ญะวาด ออมูลีย์,ตัฟซีรเมาฏูอีย์, เล่ม 6, ตอนอธิบายเกี่ยวกับการสร้างอาดัม

4. อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด มิซบาฮฺ ยัซดี, มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1-3, หน้า 297 เป็นต้นไป

5. ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 1, ตอนอธิบายโองการที่ 34 บทบะเกาะเราะฮ, เล่มที่ 11 หน้า 8 เป็นต้นไป



[1] รอฆิบ เอชฟาฮานี, มุฟฟะรอดอต คำว่า ชัยฏอน

[2]  ฏูซีย์, มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 165 พิมพ์ที่เบรุต

[3] โองการได้ใช้คำว่า มลาอิกะอฺ ในรูปของพหูพจน์ ซึ่งมี อลีฟกับลาม ควบคู่มาด้วยเสมอ เช่น มวลมลาอิกะฮฺทั้งหมด มีหน้าที่ก้มกรามอาดัม

[4]  อัลกุรอาน บทอันบิยาอ์ โองการ 26-27

[5] อัลกุรอาน บทอัลฮิจร์ โองการที่ 27 กล่าวว่าและญินนั้น เราได้สร้างมันมาก่อนจากไฟของลมร้อน

[6] นักวิชาการกล่มหนึ่ง ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 11 หน้า 79-80

[7] อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการ 34

[8] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50

[9] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม โองการ 6

[10] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50

[11] อัลกุรอาน บทฟาฏิร 1 และบทฮัจญฺ 75

[12] แต่ยังมีการบ่งชี้อย่างอื่นอีก ซึ่งสามารถศึกษาได้จาก ตักซีร มัจญฺอุลบะยาน ตอนอธิบาย โองการที่ 34 บทอับบะเกาะเราะฮฺ 

   Tabarsi, บาหยัน Assembly, C 1, p 163, เผยแพร่ในเบรุต

[13] เฏาะบัรเราะซีย์ มัจญฺมะอุล บะยาน เล่ม 1 หน้า 163 พิมพ์ที่เบรุต

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12555 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7747 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    9261 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6876 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5745 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10127 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • เงื่อนไขของอิสลามและอีหม่านคืออะไร?
    15246 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/21
    อิสลามและอีหม่านมีระดับขั้นที่แตกต่างกันระดับแรกซึ่งก็คือการรับอิสลามนั้นหมายถึงการที่บุคคลสามารถเข้ารับอิสลามได้โดยเปล่งปฏิญาณว่า اشهد أن لا اله الا الله" و اشهد أنّ محمداً رسول الله โดยสถานะความเป็นมุสลิมจะบังเกิดแก่เขาทันทีอาทิเช่นร่างกายของเขาและลูกๆจะสิ้นสภาพนะญิสเขาสามารถแต่งงานกับสตรีมุสลิมได้สามารถทำธุรกรรมกับมุสลิมได้ทุกประเภททรัพย์สินและศักดิ์ศรีของเขาจะได้รับการพิทักษ์เป็นพิเศษฯลฯ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อปฏิญาณตนเข้ารับอิสลามก็ย่อมมีผลพวงในแง่ความรับผิดชอบทางศาสนาเช่นการนมาซถือศีลอดชำระคุมุสจ่ายซะกาตประกอบพิธีฮัจย์ศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัยยอมรับวันปรโลกสวรรค์และนรกตลอดจนศรัทธาต่อเหล่าศาสนทูตเหล่านี้ถือเป็นระดับชั้นที่สูงและสมบูรณ์ขึ้นของอีหม่านนอกเหนือจากการปฏิบัติศาสนกิจแล้วการหลีกห่างสิ่งต้องห้ามทางศาสนาย่อมจะช่วยยกระดับอีหม่านได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้นคำสอนของกุรอานนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมามมะอ์ศูมยังบ่งชี้ว่าอิสลามที่ปราศจากการยอมรับ "วิลายะฮ์"ของอิมามสิบสองท่านย่อมถือว่าไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เป็นที่ยอมรับณอัลลอฮ์นอกจากนี้จิตใจของมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องปราศจากชิริกและการเสแสร้งเพราะจะทำให้อะมั้ลอิบาดะฮ์ที่กระทำมาสูญเสียคุณค่าไปโดยปริยายและจะทำให้หมดโอกาสที่จะได้รับความผาสุกและต้องถูกเผาไหม้ในเพลิงพิโรธของพระองค์ฉะนั้นประชากรมุสลิมทั้งหมดที่กล่าวกะลิมะฮ์ล้วนเป็นมุสลิมทุกคนแม้ว่าบางคนจะอยู่ในระดับพื้นฐานของอิสลามโดยที่การละเลยศาสนกิจบางประการมิได้ส่งผลให้ต้องพ้นสภาพความเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6745 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7273 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7196 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59464 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56924 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41726 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38480 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38465 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33501 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27574 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27300 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27193 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25267 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...