การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6428
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10515 รหัสสำเนา 19581
คำถามอย่างย่อ
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำถาม
กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
คำตอบโดยสังเขป

แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้ กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ตามหลักบางประการแล้ว สายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้ แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้น ต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงาน ซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษ หนึ่ง: น่าเชื่อถือ
สอง: เป็นนักรายงานที่เชื่อถือได้ แต่อยู่ในชั้นเดียวกันกับนักรายงานที่ไม่มีการรับประกันความน่าเชื่อถือ
สาม: มีเบาะแสบ่งบอกว่าเป็นนักรายงานที่น่าเชื่อถือ
สรุปแล้ว สายรายงานของซิยารัตอาชูรอถือว่าเศาะฮี้ห์ไร้ข้อเคลือบแคลง
ส่วนในแง่เนื้อหาที่มีการตั้งข้อสงสัยเนื่องจากมีคำละอ์นัตบนีอุมัยยะฮ์ทั้งตระกูล เราได้ชี้แจงรายละเอียดไว้แล้วในเว็บไซต์นี้ เพื่อทราบรายละเอียด กรุณาอ่านเพิ่มเติมจากคำตอบแบบสมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ซิยารัตอาชูรอเป็นมรดกตกทอดมาจากอิมามบากิรและอิมามศอดิก(.) ฉะนั้น ควรจะเป็นที่ยอมรับทั้งในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหาก็จะต้องไม่ขัดต่อคำสอนของกุรอานและฮะดีษอื่นๆ ซึ่งหากมิได้เป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารถจะนับเป็นฮะดีษที่น่าเชื่อถือได้ บทวิเคราะห์ต่อไปนี้จะกล่าวถึงทั้งสองแง่มุมอย่างสังเขป:

 หนึ่ง. สายรายงานซิยารัตอาชูรอ:
แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตดังกล่าวก็คือหนังสือสองเล่ม: กามิลุซซิยารอต ประพันธ์โดยญะฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กุละวัยฮ์ กุมี (เสียชีวิตฮ..348) และ มิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี (..385-460) ฉะนั้น ควรต้องพิจารณาหนังสือกามิลุซซิยารอตและมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนตามลำดับ

1-1. หนังสือกามิลุซซิยารอต อิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงผลบุญของซิยารัตอาชูรอดังนี้

حَدَّثَنِی حَکِیمُ بْنُ دَاوُدَ بْنِ حَکِیمٍ وَ غَیرُهُ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ مُوسَى الْهَمْدَانِی عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ خَالِدٍ الطَّیالِسِی عَنْ سَیفِ بْنِ عَمِیرَةَ وَ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ جَمِیعاً عَنْ عَلْقَمَةَ بْنِ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی، وَ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْمَاعِیلَ عَنْ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ عَنْ مَالِکٍ الْجُهَنِی عَنْ أَبِی جَعْفَرٍ الْبَاقِرِ ع قَالَ مَنْ زَارَ الْحُسَینَ ع یوْمَ عَاشُورَاءَ مِنَ الْمُحَرَّمِ...". و بعد در باره سند اصل زیارت عاشورا می‌گوید: قَالَ صَالِحُ بْنُ عُقْبَةَ الْجُهَنِی وَ سَیفُ بْنُ عَمِیرَةَ قَالَ عَلْقَمَةُ بْنُ مُحَمَّدٍ الْحَضْرَمِی فَقُلْتُ لِأَبِی جَعْفَرٍ (ع) عَلِّمْنِی دُعَاءً أَدْعُو بِهِ فِی ذَلِکَ الْیوْمِ...".

 

...อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว จงกล่าวซิยารัตท่านอิมามฮุเซนในวันอาชูรอว่า: ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์ ศานติยังท่าน โอ้บุตรของศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศานติยังท่าน โอ้ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร บุตรของผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรร ศานติยังท่าน โอ้บุตรของอมีรุ้ลมุอ์มินีน และบุตรของประมุขแห่งเหล่าตัวแทน ศานติยังท่าน โอ้บุตรของฟาฏิมะฮ์ นายหญิงแห่งปวงสตรีทั้งผอง..."[1]

สรุปได้ว่าที่ต้นทางของฮะดีษคือ อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี และ มาลิก บิน อะอ์ยุน ญะฮ์นี ซึ่งรายงานจากอิมามมะอ์ศูม ทั้งสองสายดังกล่าวรายงานผ่านศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ โดยที่สายหนึ่งมีชื่อ สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ปรากฏอยู่ แต่อีกสายหนึ่งไม่มีบุคคลนี้
สายรายงานชั้นต้นก็คือศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ และสัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ รายงานจากอัลเกาะมะฮ์ บิน ฮัฎเราะมี จากอิมามบากิร(.) สรุปคือ ฮะดีษนี้มีสามสายรายงานดังต่อไปนี้:
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จาก มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก สัยฟ์ บิน อุมัยเราะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม และคนอื่นๆ จากมุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี จาก มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก อัลเกาะมะฮ์ บิน มุฮัมมัด ฮัฎเราะมี
. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล จาก ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์ จาก มาลิก ญะฮ์นี จาก อิมามบากิร 

สายรายงานที่สามมีข้อสันนิษฐานสองประการ
หนึ่ง. อิบนิ กูละวัยฮ์ รายงานซิยารัตนี้จากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล ดังที่เชคฏูซีก็รายงานจากหนังสือดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้ สายรายงานก็จะเชื่อมจากมุฮัมมัด บิน อิสมาอีลถึงศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์
สอง. มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เชื่อมกับ มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี ในกรณีนี้สายรายงานจะเป็นดังนี้:
ฮะกีม บิน ดาวู้ด, มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี, มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์, ศอลิห์ บิน อะเกาะบะฮ์, มาลิก ญะฮ์นี
แต่ข้อสันนิษฐานนี้ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล เป็นที่แพร่หลายในยุคนั้น ซึ่งเชคฏูซี และอิบนิ กูละวัยฮ์ ต่างก็รายงานจากหนังสือเล่มดังกล่าว

วิจารณ์สายรายงานของอิบนิ กูละวัยฮ์
อิบนิ กูละวัยฮ์ กล่าวถึงหนังสือของตนในอารัมภบทว่า
ฉันมิได้มีความรู้ครอบคลุมฮะดีษทุกบทที่รายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับบทซิยารัตและเรื่องอื่นๆ แต่ทุกฮะดีษที่ฉันอ้างไว้ในหนังสือเล่มนี้ ล้วนรายงานจากมิตรสหายของเราที่เชื่อถือได้ และฉันไม่รายงานฮะดีษใดจากบุคคลนิรนาม ซึ่งมักจะรายงานเรื่องราวของบรรดาอิมามจากผู้ที่ไม่เป็นที่รู้จักในแง่ฮะดีษ และไม่คุ้นเคยกันในแวดวงวิชาฮะดีษ[2]
หลังจากที่เชค ฮุร อามิลีให้การยอมรับสายรายงานของตัฟซี้รอลี บิน อิบรอฮีมแล้ว ท่านกล่าวถึงสายรายงานของหนังสือกามิลุซซิยารอตว่า "ญะอ์ฟัร บิน มุฮัมมัด บิน กูละวัยฮ์ให้คำมั่นว่าสายรายงานที่ปรากฏในกามิลุซซิยารอตล้วนน่าเชื่อถือ และการฟันธงดังกล่าวค่อนข้างจะชัดเจนกว่ากรณีของอลี บิน อิบรอฮีม[3]

อย่างไรก็ดี ผู้รู้บางท่านเชื่อว่าประโยคดังกล่าวจะมีผลต่อนักรายงานคนแรกเท่านั้น นั่นก็คือผู้ที่อิบนิ กูละวัยฮ์รายงานโดยตรง[4] หลักคิดดังกล่าวเป็นที่ยอมรับของอายะตุลลอฮ์ คูอี้ในบั้นปลายชีวิตของท่าน[5] แม้ในอดีตท่านจะเคยกล่าวว่า "สำนวนนี้ระบุชัดเจนว่า อิบนิ กูละวัยฮ์ไม่เคยรายงานฮะดีษจากมะอ์ศูมีน นอกจากจะแน่ใจเสียก่อนว่าเป็นสหายของเราที่น่าเชื่อถือพอ[6]

อย่างไรก็ดี ควรวิเคราะห์นักรายงานฮะดีษเป็นรายบุคคลดังต่อไปนี้

ฮะกีม บิน ดาวู้ด บิน ฮะกีม
แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือ แต่ก็มิได้ถูกตั้งข้อสงสัย อีกทั้งผู้ประพันธ์หนังสือตะฮ์ซีบุลอะห์กามก็ได้รายงานฮะดีษจากบุคคลนี้ด้วย[7] มุฮัดดิษ นูรี ถือว่าเขาเป็นหนึ่งในครูบาด้านฮะดีษของอิบนิ กูละวัยฮ์[8] จากการที่เขาได้รับการยืนยันในภาพรวม และไม่มีใครตั้งข้อสงสัยเขา ก็ถือว่าไว้ใจได้

มุฮัมมัด บิน มูซา ฮัมดานี
บางคนถือว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ[9] แต่มัรฮูมคูอี้ถือว่าคำยืนยันของอิบนิ กูละวัยฮ์เกี่ยวกับสายรายงานกามิลุซซิยารอตนับเป็นทัศนะที่มาหักล้าง และเนื่องจากมีการขัดแย้งกัน จึงปัดตกไปทั้งสองทัศนะ ผลก็คือ มุฮัมมัด บิน มูซา ถือเป็นมัจฮู้ล(นิรนาม)ในแง่วิชาริญ้าล[10]

มุฮัมมัด บิน คอลิด เฏาะยาลิซี และ มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เราจะกล่าวถึงสองคนนี้เป็นลำดับต่อไป

อะเกาะบะฮ์ บิน เกส กูฟี
เขาคือบิดาของศอลิห์ และเป็นสหายของอิมามศอดิก(.) สันนิษฐานว่าไม่มีใครยืนยันหรือปฏิเสธความน่าเชื่อถือของเขา[11]

มาลิก ญะฮ์นี
ดังที่กล่าวไปแล้ว มาลิก ญะฮ์นี คือผู้รายงานจากอิมาม(.)ในสายรายงานที่สอง ซึ่งเขาก็คือ มาลิก บิน อะอ์ยัน ญะฮ์นี สหายของอิมามบากิร(.) ซึ่งเชคมุฟี้ดกล่าวว่ามาลิกเป็นที่ยกย่องของท่านอิมาม(.)[12]

ข้อสรุปจากการวิจารณ์บุคคลเหล่านี้ก็คือ แม้เราไม่อาจจะพิสูจน์ความถูกต้องของสายรายงานนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากบางมาตรฐานเชื่อว่าสายรายงานนี้ไม่มีปัญหาใดๆ

1-2. หนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีน ของเชคฏูซี
เชคฏูซีรายงานซิยารัตอาชูรอไว้ในหนังสือของตนผ่านสองสายรายงาน
1-2-1. สายรายงานแรกของเชคฏูซี
ท่านกล่าวถึงสายรายงานแรกว่า:

روى محمد بن إسماعیل بن بزیع عن صالح بن عقبه و سیف بن عمیره عن علقمه بن محمد الحضرمى «قلت لأبى جعفر: علمنى دعاءً أدعو به ذلک الیوم إذا أنا زُرته من قرب، و دعاءً ادعو به إذا لم أَزَره مِن قُرب و أَومات مِن بَعد البلاد، و من دارى بالسلام إلیه.  قال: فقال لى یا علقمه إذا أنت صلیت رکعتین

...อัลเกาะมะฮ์เล่าว่า ฉันกล่าวต่ออบูญะฟัร(.)ว่า "กรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านขณะเยี่ยมเยียนใกล้กุโบรอิมามฮุเซน และกรุณาสอนดุอาที่กระผมจะใช้อ่านจากแดนไกลบนดาดฟ้าเมื่อต้องการจะให้สลามแด่ท่านอิมาม"
ท่านตอบว่า "โอ้ อัลเกาะมะฮ์ หลังจากที่เธอให้สลามแด่ท่านอิมามฮุเซน และนมาซสองเราะกะอัตแล้ว หลังจากนั้นให้สลามและชี้ไปยังกุโบรของท่านอิมาม จงกล่าวตักบี้รขณะชี้ และจงอ่านบทซิยารัตนี้ ซึ่งเป็นดุอาเดียวกันกับที่มะลาอิกะฮ์ใช้อ่านขณะซิยารัตท่านว่า ...ศานติยังท่าน โอ้อบาอับดิลลาฮ์...[13]

เกี่ยวกับสายรายงานข้างต้น จำเป็นต้องวิเคราะห์ประเด็นต่อไปนี้:

. สายรายงานของเชคฏูซีจนถึงมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์
เชคฏูซีรายงานฮะดีษข้างต้นจากหนังสือของมุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์ และได้ระบุสายรายงานที่เชื่อมต่อหนังสือดังกล่าวดังนี้

محمد بن إسماعیل بن بزیع؛ له کتاب فی الحج، أخبرنا به ابن أبی‏ جید عن محمد بن الحسن بن الولید عن علی بن إبراهیم عن أبیه عن محمد بن إسماعیل

อิบนิ อบี ญัยด์ จาก มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จากพ่อของเขา, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์[14]

ฉะนั้น สายรายงานของฮะดีษจะเป็นเช่นนี้ เชคฏูซี, อลี บิน อะหมัด บิน มุฮัมมัด บิน อบี ญัยด์, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน บิน วะลี้ด, จาก อลี บิน อิบรอฮีม กุมี, จาก อิบรอฮีม, จาก มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล บิน บะซี้อ์

กล่าวได้ว่าทุกคนในสายรายงานดังกล่าวล้วนเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญวิชาริญ้าลทั้งสิ้น ครูบาฮะดีษเหล่านี้ล้วนน่าเชื่อถือ และไม่จำเป็นต้องสาธยายถึงสถานะดังกล่าว

มาถึงการวิจารณ์สายรายงานแรก
อิบนิ อบี ญัยด์ 
เป็นครูบาของเชคฏูซีและมัรฮูมนะญาชี ซึ่งครูบาของมัรฮูมนะญาชีล้วนเป็นที่ไว้วางใจของอุละมาอ์โดยไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ ดังที่มัรฮูมคูอี้กล่าวว่า "สายรายงานของเชคศ็อฟฟ้ารนอกเหนือจากหนังสือบะศออิ้ร ถือว่าเศาะฮี้ห์ทั้งสิ้น สันนิษฐานว่าสายรายงานในหนังสือดังกล่าวก็น่าจะเป็นเช่นนั้นด้วย เนื่องจากมีชื่ออิบนิ อบี ญัยด์อยู่ ซึ่งเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะเขาเป็นครูบาฮะดีษของนะญาชี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7356 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11572 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    7733 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    8014 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ข้อความละอ์นัตในซิยารัตอาชูรอครอบคลุมถึงบุตรชายยะซีดด้วยซึ่งเป็นคนดี แล้วจะถือว่าซิยารัตนี้น่าเชื่อถือได้อย่างไร?
    6962 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ในซิยารัตอาชูรอมีการละอ์นัตกลุ่มบนีอุมัยยะฮ์ซึ่งรวมถึงบุตรชายยะซีดด้วยในขณะที่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบุตรชายของยะซีดและสมาชิกบนีอุมัยยะฮ์บางคนเป็นคนดีเนื่องจากเคยทำประโยชน์บางประการซึ่งย่อมไม่สมควรจะถูกละอ์นัตเพื่อชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าวควรทราบว่าบนีอุมัยยะฮ์ในที่นี้หมายความเฉพาะผู้ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันกับพวกเขาอันหมายถึงผู้กระทำผิดผู้วางเฉยผู้ปีติยินดี ... ฯลฯต่อการแย่งชิงสิทธิอันชอบธรรมของบรรดาอิมาม(อ.) ตลอดจนการสังหารท่านเหล่านั้นและสาวกหากคำนึงถึงประโยคก่อนและหลังท่อนดังกล่าวในซิยารัตอาชูรอก็จะเข้าใจจุดประสงค์ดังกล่าวได้ไม่ยากเนื่องจากบรรยากาศของซิยารัตบทนี้เต็มไปด้วยละอ์นัตและการสาปแช่งกลุ่มบุคคลที่ยึดครองตำแหน่งคิลาฟะฮ์และพยายามจะดับรัศมีของอัลลอฮ์โดยทำทุกวิถีทางเพื่อต่อกรกับอะฮ์ลุลบัยต์รวมไปถึงกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนและพึงพอใจในพฤติกรรมของกลุ่มแรก ฉะนั้นในทางวิชาอุศู้ลแล้วเราถือว่าการยกเว้นบุคคลที่ดีออกจากนัยยะของคำว่าบนีอุมัยยะฮ์นั้นเป็นการยกเว้นประเภท “ตะค็อศศุศ” มิไช่ “ตัคศี้ศ” หมายความว่าคำว่าบนีอุมัยยะฮ์ไม่ครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ตั้งแต่แรกแล้วจึงไม่จำเป็นต้องยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ...
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11925 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • การเล่นนกพิราบในอิสลามมีกฎอย่างไรบ้าง, เพราะเหตุใด?
    7862 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    การกระทำดังกล่าวโดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหาทางชัรอียฺแต่อย่างใดแต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการกลั่นแกล้งคนอื่นหรือเพื่อนบ้านซึ่งในบางพื้นที่ประชาชนจะมองว่าเขาเป็นคนมักง่ายเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นมีปัญหา, ด้วยเหตุนี้มัรญิอฺตักลีดจึงได้มีทัศนะเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากกระทำนั้นไว้ดังนี้:สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอียฺ (
  • เกี่ยวกับวิลายะฮฺที่มีเหนือมุอฺมิน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอะอิมมะฮฺ, ท่านมีทัศนะอย่างไร?
    5730 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/23
    คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) มีรายละเอียดดังนี้ :บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) มีวิลายะฮฺทั้งวิลายะฮฺตักวีนีและตัชรีอียฺเหนือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แต่การปฏิบัติวิลายะฮฺขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8520 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59724 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57089 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41902 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38744 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38597 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33719 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27696 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27522 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27350 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25412 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...