การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7847
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa850 รหัสสำเนา 14462
คำถามอย่างย่อ
ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
คำถาม
ในทัศนะอิสลาม กาฟิรที่เคยก่ออาชญากรรมจะได้รับอภัยโทษหลังเข้ารับอิสลามหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม อาทิเช่น หากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ เช่นไม่ทำละหมาด หรือเคยทำบาปเป็นอาจิน เขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลาม
ทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆ เว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้น ฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลาม การเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริง แต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้ เว้นแต่ฝ่ายผู้เสียหายจะยอมความเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะสิทธิในส่วนนี้มิไช่สิทธิของอิสลามที่อิสลามจะอภัยโทษให้ได้ แต่เป็นสิทธิของมนุษย์ซึ่งทุกศาสนาและอารยชนทั่วโลกต่างให้การยอมรับ

คำตอบเชิงรายละเอียด

กุรอานกล่าวถึงพฤติกรรมด้านลบของกาฟิรก่อนจะเข้ารับอิสลามว่า: โอ้ศาสนทูต จงกล่าวแก่กาฟิรว่า หากยุติพฤติกรรม(อันเสื่อมเสีย)ของพวกท่าน เราจะอภัยโทษในสิ่งที่แล้วมา...”[1]
ท่านศาสดามุฮัมมัดเคยกล่าวไว้ว่าการรับอิสลามจะปกปิดพฤติกรรมที่ไม่ดีในอดีต ดังที่การเตาบะฮ์จะขจัดลักษณะนิสัยแห่งกาฟิรและจะปกปิดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์[2] วจนะดังกล่าวได้กลายมาเป็นพื้นฐานของหลักนิติศาสตร์อิสลามที่เรียกว่าหลักแห่งญุบ
โองการและฮะดีษข้างต้นต้องการจะสื่อให้ทราบว่าผู้ที่สนใจจะเข้ารับอิสลามไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับความผิดบาปในอดีต เนื่องจากอัลลอฮ์จะไม่เอาผิดในกรณีที่เคยละเมิดสิทธิของพระองค์(ก่อนรับอิสลาม) จึงไม่จำเป็นต้องทำอิบาดะฮ์หรือจ่ายซะกาตชดใช้ย้อนหลัง เพราะอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้ให้อภัยที่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม และไม่ถือโทษในสิ่งที่ปวงบ่าวเคยล่วงเกินในอดีต[3]
นอกจากนี้ หากผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามเคยกระทำผิดประเภทที่อิสลามระบุโทษชัดเจน เช่น โบยหลังผู้ที่น้ำเมา โทษดังกล่าวก็จะถูกระงับเช่นกัน อิสลามแทนที่ด้วยการปฏิบัติอย่างอ่อนโยน และให้เขาสบายใจว่าจะไม่ถูกลงโทษในสิ่งที่เคยพลาดพลั้งในอดีต อย่างไรก็ตาม อภัยทานดังกล่าวมีเฉพาะในส่วนของสิทธิของอัลลอฮ์และอิสลาม ด้วยเหตุนี้ หากเขาเคยล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์ก่อนรับอิสลาม จำเป็นต้องชดใช้หรือขอประนีประนอม มิเช่นนั้นก็ต้องถูกลงโทษตามแต่กรณี อาทิเช่น หากเขาเป็นหนี้ หรือเคยขโมยทรัพย์สินในอดีต จำเป็นต้องชดใช้หรือส่งคืน หรือไม่ก็ประนีประนอมให้ผู้เสียหายอภัยให้  ในทำนองเดียวกัน หากเขาเคยก่ออาชญากรรมฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้ใด ก็ต้องชดใช้หรือรับโทษทัณฑ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงอภัยในส่วนของสิทธิของพระองค์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษย์ การพิจารณาคดีความเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์จึงดำเนินต่อไป โดยเขาจะต้องชดใช้ให้ผู้เสียหายเท่านั้น
อย่างไรก็ดี หลักการดังกล่าวมิได้เป็นหลักการที่มีเฉพาะอิสลามเท่านั้น ทว่าทุกศาสนา ลัทธิ และทุกสังคมที่อารยะต่างก็มีหลักการเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น[4]
ผู้รู้บางท่านกล่าวเสริมว่า หากผู้ใดเข้ารับอิสลามและมีหนี้สินที่ต้องชำระ ผู้ปกครองรัฐอิสลามสามารถชำระหนี้สินดังกล่าวแทนด้วยเงินจากคลังส่วนกลางได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์แก่มุสลิมใหม่ ยกตัวอย่างเช่น หากมุสลิมใหม่สักคนต้องจ่ายสินไหมแก่ญาติผู้เสียชีวิตเนื่องจากก่อนรับอิสลามเคยฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา หลังรับอิสลามเขาก็ยังต้องแบกรับภาระหนี้สินดังกล่าวอยู่ แต่ผู้ปกครองรัฐอิสลามสามารถพิจารณาสั่งจ่ายสินไหมแทนจากคลังส่วนกลางได้.[5]
สรุปคือ ในกรณีเช่นนี้ ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกดำเนินคดีไม่ว่าจะอยู่ในรัฐทั่วไปหรือรัฐอิสลาม โดยที่ผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องเอาความได้ตามกระบวนการพิจารณาคดีของประเทศต่างๆรวมถึงประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอิสลาม.



 [1] ซูเราะฮ์อันฟาล, 38.

[2] ฏุร็อยฮีย์, มัญมะอุ้ลบะฮ์รอยน์, คำว่าجب; ซีเราะฮ์ ฮะละบี, เล่ม 3, หน้า 105. ฮะดีษข้างต้นมีรายงานสำนวนอื่นเช่นกัน เช่น: อิสลามจะขจัดพฤติกรรมในอดีตดู: อัลลามะฮ์ มัญลิซี, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 40, หน้า 230.

[3] ดู: มุฮักกิก ฮะมะดอนี, มิศบาฮุลฟะกีฮ์, กิตาบ ซะกาต, หน้า ; มุฮัมมัด ฮะซัน นะญะฟี, ญะวาฮิรุลกะลาม, เล่ม 17, หน้า 10.

[4] ดู: .มะการิม ชีรอซี, อัลกอวาอิดุล ฟิกฮียะฮ์, เล่ม 2, หน้า 169-183 (หลักแห่งญุบ).

[5] อบุลฟัตฮ์ ญุรญานี, ตัฟซีร ชอฮี, เล่ม 2 หน้า 96.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8518 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • หากประสบกับภาวะน้ำแพง จะอาบน้ำยกหะดัสใหญ่อย่างไร?
    7610 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    โดยปกติแล้วการทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ถือเป็นมุสตะฮับแต่จะเป็นวาญิบต่อเมื่อต้องทำนมาซฟัรดูหรืออิบาดะฮ์อื่นๆ[1]แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้เพื่ออาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นมีราคาสูงเสียจนอาจสร้างปัญหาแก่คุณในแง่ทุนทรัพย์ในกรณีเช่นนี้การหาน้ำและการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ก็ไม่เป็นวาญิบอีกต่อไปและสามารถทำตะยัมมุมแทนได้[2]ควรใช้น้ำสำหรับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เท่าที่ความสามารถของท่านจะอำนวยฉะนั้นการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่กับน้ำนั้นจะเป็นวาญิบเฉพาะกรณีที่เงื่อนไขด้านน้ำเอื้ออำนวยเท่านั้นอนึ่งหากในหนึ่งวันท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้เพียงครั้งเดียวท่านสามารถเลื่อนการนมาซซุฮริ-อัซริออกไปและอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เพื่อให้สามารถทำนมาซซุฮ์ริ, อัซริ, มักริบและอีชาด้วยกับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ครั้งเดียวได้และหากท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้๒ครั้งให้อาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซซุบฮิหนึ่งครั้งและทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซ๔เวลาที่เหลือดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (โดยเลื่อนการนมาซซุฮริและอัศริออกไปจนใกล้ถึงเวลานมาซมักริบและอิชา)[1]ประมวลปัญหาศาสนาโดยบรรดามัรญะอ์,เล่ม 1,
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7507 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • ก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน (อ.) จะมีมัรญิอฺตักลีด 12 คน ในชีอะฮฺ ในอิสลามเกิดขึ้นใหม่ แต่หลังจากอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ปรากฏกายแล้ว พวกเขาจถูกสังหาร 11 คน จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงแค่คนเดียว? โปรดแจ้งแจงประเด็นนี้ด้วย
    6797 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    จำคำถามที่กล่าวมามีความเป็นไปได้ 2 กรณี. หนึ่งมัรญิอฺตักลีด 11 คน
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    10081 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู?
    9001 تاريخ بزرگان 2554/12/19
    เกี่ยวกับประเด็นการสมรสระหว่างอิมามฮุเซน (อ.) กับชะฮ์รบานูซึ่งเป็นเชลยศึกของกองทัพมุสลิมนั้นมีหลายทัศนะด้วยกันเนื่องจากบางรายงานเล่าว่าหญิงคนนี้ถูกจับเป็นเชลยในสมัยการปกครองของอุมัรบ้างกล่าวว่าสมัยอุษมานอีกทั้งยังระบุนามของท่านและบิดาของท่านไว้แตกต่างกันด้วยเหตุนี้ยากที่จะฟันธงว่าภรรยาขอของอิมามฮุเซน (อ.) และมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) เป็นชาวอิหร่าน ( อีกทั้งการที่มีนามว่าชะฮ์รบานู) ...
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8219 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • การจ่ายคุมซ์เป็นทรัพย์สินเพียงครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกใช่หรือไม่?
    5441 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ดั่งเป็นที่ทราบกันดีว่าคุมซ์คือหนึ่งในการบริจาคทรัพย์อันเป็นวาญิบสำคัญในอิสลามเป็นหนึ่งในหลักการอิสลามและเป็นอิบาดะฮฺด้วยด้วยสาเหตุนี้เองจำเป็นต้องเนียต (ตั้งเจตคติ) เพื่อแสวงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ (ซบ.)ทรัพย์สินและเงินทุนต่างๆที่ต้องจ่ายคุมซ์ถ้าหากจ่ายคุมซ์ไปแล้วเพียงครั้งเดียวไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซ์อีกแม้ว่ากาลเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปีก็ตามแต่ถ้าเป็นทรัพย์ที่เติบโตหรือมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิมทุนเดิมไม่ต้องจ่ายคุมซ์แต่ส่วนที่เป็นผลกำไรงอกเงยอออกมาวาญิบต้องจ่ายคุมซ์[1][1]  เตาฏีฮุลมะซาอิลมะริญิอฺ
  • มีรายงานฮะดีซจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรอหรือไม่? และศีลอดนี้ถือเป็นศีลอดมุสตะฮับด้วยหรือไม่?
    6800 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9266 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59740 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57101 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41905 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38767 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38602 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33725 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27699 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27532 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27355 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25417 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...