การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6809
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/07/15
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8342 รหัสสำเนา 24238
คำถามอย่างย่อ
บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
คำถาม
มีผู้รู้ท่านใดบ้างที่ทราบทัศนะของบรรดาอิมามเกี่ยวกับบทกวี หรือเชื่อว่าเป็นสิ่งต้องห้าม?
คำตอบโดยสังเขป

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย
บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ

คำตอบเชิงรายละเอียด

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติต่อกาพย์โคลงกลอนและนักกวี ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดจากการตีความโองการ وَ الشُّعَراءُ یَتَّبِعُهُمُ الْغاوُون [1]ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากโองการข้างต้นมิได้มีจุดประสงค์ที่จะตำหนิทโคลงกลอนทุกประเภทในเชิงเหมารวม แต่ต้องการจะตำหนิโคลงกลอนบางประเภทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาของเรามักจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกาพย์โคลงกลอน อาทิเช่นกรณีของตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ต่อไปนี้

กวีนิพนธ์ในทัศนะอิสลาม
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
จากเนื้อหาข้างต้นทำให้ทราบข้อสรุปที่ว่าโองการข้างต้นสอนว่าการเป็นนักกวีเป็นเรื่องดีหรือเสื่อมเสียกันแน่? อิสลามยอมรับกวีนิพนธ์หรือไม่?

มาตรฐานของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ เป้าหมาย จุดประสงค์ และผลลัพธ์ ท่านอิมามอลีเคยปรารภแก่กลุ่มสหายของท่านยามที่กำลังพูดคุยเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ขณะกำลังละศีลอดในเดือนรอมฎอนว่า

اعلموا ان ملاک امرکم الدین، و عصمتکم التقوى، و زینتکم الادب، و حصون اعراضکم الحلم

“จงรู้ไว้ว่า ศาสนาคือมาตรฐานภารกิจของพวกท่าน ตักวาคือเกราะป้องกันของพวกท่าน มารยาทคือเครื่องประดับของพวกท่าน และความอดทนคือป้อมปราการของพวกท่านที่ตั้งตระหง่าน”[2]

สรุปคือ บทกลอนเปรียบเสมือนเครื่องมือ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเป้าประสงค์ที่สร้างแรงจูงใจแก่กวีนิพนธ์

เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย

สมัยที่การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านร้อนแรงถึงขีดสุดนั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าบทกวีหรือคำขวัญที่มีสัมผัสสละสลวยสามารถปลุกเร้าความรู้สึกของประชาชนได้ถึงเพียงใด สามารถปลุกระดมสู่อุดมการณ์ได้เพียงใด ช่วยสร้างเอกภาพในหมู่นักปฏิวัติถึงเพียงใด
ในยุคนั้น กลอนบทง่ายๆมีอานุภาพพอที่จะเขย่าบัลลังก์ และทำให้เหล่าศัตรูพากันอกสั่นขวัญแขวน

ไม่มีใครปฏิเสธว่าบางครั้งบทกวีเชิงธรรมะสามารถหยั่งรากลึกในหัวใจผู้ฟังได้ดีกว่าตำรับตำราเล่มหนาๆเสียอีก

เป็นดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า “ان من الشعر لحکمة، و ان من البیان لسحرا” บทกวีบางบทแฝงไว้ด้วยวิทยปัญญา และบางพจนารถมีอานุภาพดั่งมนตรา”[3]

บางครั้งบทกวีสามารถทิ่มแทงความรู้สึกของศัตรูได้ ดังที่มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุไว้เกี่ยวกับบทกวีประเภทนี้ว่า

و الذى نفس محمد بیده فکانما تنضهونهم بالنیل!

ขอสาบานต่อพระผู้ทรงกุมชะตากรรมของมุฮัมมัด(ซ.ล.) บทกวีเหล่านี้ประหนึ่งว่าพวกท่านกำลังยิงธนูใส่พวกเขา[4]

ท่านกล่าวฮะดีษบทนี้เมื่อครั้งที่ฝ่ายศัตรูพยายามร่ายบทกลอนเพื่อข่มขวัญฝ่ายมุสลิม ท่านนบี(ซ.ล.)จึงมีดำริให้มุสลิมแต่งบทกวีเพื่อตอบโต้ศัตรู

ท่านยังกล่าวแก่นักกวีท่านหนึ่งว่า  “จงร่ายกวีประณามพวกเขา แท้จริงญิบเราะอีลอยู่กับท่าน”[5]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่กะอบ์ บิน มาลิก นักกวีผู้ศรัทธาที่มักแต่งบทกลอนส่งเสริมอิสลามได้เอ่ยถามท่านนบี(ซ.ล.)ว่า โอ้ท่านนบี กระผมจะวางตัวเช่นไรเมื่อมีบางโองการประทานลงมาเพื่อตำหนิโคลงกลอน ท่านตอบว่า

ان المؤمن یجاهد بنفسه و سیفه و لسانه “ผู้ศรัทธาจะต่อสู้ในหนทางของพระองค์ด้วยชีพ ดาบ และลิ้น”[6]

บรรดาอิมามเองก็กล่าวยกย่องบทกวีและนักกวีผู้มีเป้าหมาย อีกทั้งยังเคยขอพรและมอบรางวัลมูลค่ามากมาย ซึ่งหากจะกล่าวทั้งหมดในที่นี้ก็คงจะเยิ่นเย้อ

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่พฤติกรรมของคนบางกลุ่มเป็นเหตุให้ศิลปะที่ยิ่งใหญ่และงดงามแขนงนี้ตกต่ำ ทำลายความสูงส่งของบทกวีให้เหลือเพียงสารัตถะแห่งวัตถุด้วยการโกหกยกเมฆจนทำให้มีการกล่าวกันว่า “احسنه اکذبه” กลอนที่โป้ปดที่สุดคือกลอนที่สละสลวยที่สุด”

บ่อยครั้งที่บทกวีถูกนำไปใช้โอ้โลมปฏิโลมผู้มีอำนาจเพื่อหวังจะได้รับการปูนบำเหน็จเพียงเล็กน้อย และบ่อยครั้งที่มีการร่ายบทกวีพรรณาถึงสุราเมรัยและอิสตรีอย่างสุดโต่ง

หลายครั้งที่บทกวีกลายเป็นชนวนแห่งสงครามและความขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดการหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์มากมาย

แต่ในทางตรงกันข้าม มีนักกวีที่เปี่ยมด้วยศรัทธาไม่น้อยที่ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อามิจสินจ้าง แต่เลือกที่จะใช้พรสวรรค์ดังกล่าวเพื่อพัฒนาศีลธรรมจรรยาของมนุษย์ และใช้ในการต่อสู้กับผู้อธรรมอันทำให้สามารถบรรลุถึงเกียรติยศอันสมบูรณ์

บางรายได้ประพันธ์บทกวีเพื่อปกป้องสัจธรรมโดยสามารถแลกกลอนแต่ละบาทกับบ้านในสรวงสวรรค์[7] นักกวีบางคนสามารถขจัดบรรยากาศที่คละคลุ้งไปด้วยการกดขี่ในยุคแห่งอุมัยยาดและอับบาซิดด้วยการประพันธ์บทกวีเช่นบท “มะดาริส อาย้าต” ประหนึ่งว่าได้รับการดลใจจากเบื้องบนกระนั้น

บางครั้งบทกวีสามารถแปรความหวาดกลัวของผู้ถูกกดขี่ให้กลายเป็นความฮึกเหิมกล้าหาญได้อย่างน่าอัศจรรย์

กุรอานกล่าวถึงบุคคลเหล่านี้ไว้ว่า إِلَّا الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ وَ ذَکَرُوا اللَّهَ کَثِیراً وَ انْتَصَرُوا مِنْ بَعْدِ ما ظُلِمُوا.
ที่น่าสนใจก็คือว่า บางครั้งศิลปินนักกวีได้รังสรรค์ผลงานไว้ดีเยี่ยมถึงขั้นที่ผู้นำทางศาสนาอิสลามพยายามรณรงค์ให้ผู้คนท่องจำบทกวีของพวกเขา อาทิเช่นกรณีบทกวีของ “อับดี” ที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยกล่าวว่า یا معشر الشیعة علموا اولادکم شعر العبدى، فانه على دین اللَّه “จงสอนบทกวีของอับดีแก่ลูกหลานเถิด เพราะเขาอยู่ในหนทางของพระองค์”[8]

ด้วยเหตุนี้เราจึงขอส่งท้ายด้วยบทกวีของอับดีที่เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวแทนของท่านนบี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้

و قالوا رسول اللَّه ما اختار بعده             اماما و لکنا لأنفسنا اخترنا!

اقمنا اماما ان اقام على الهدى             اطعنا، و ان ضل الهدایة قومنا!

فقلنا اذا انتم امام امامکم             بحمد من الرحمن تهتم و لا تهمنا

و لکننا اخترنا الذى اختار ربنا             لنا یوم خم ما اعتدینا و لا حلنا!

و نحن على نور من اللَّه واضح             فیا رب زدنا منک نورا و ثبتنا!

“พวกเขากล่าวว่าท่านนบี(ซ.ล.)มิได้เลือกผู้ใดเป็นผู้นำภายหลังจากท่าน แต่เราคือผู้คัดสรรเอง
เราเลือกอิมามที่ถ้าหากนำสู่ทางที่ถูกต้องจึงจะปฏิบัติตาม แต่หากนำสู่ความผิดพลาด เราจะดัดนิสัยเขา
หากเป็นเช่นนี้ พวกท่านก็คืออิมามของตัวเอง พวกท่านนั่นแหล่ะที่อยู่ในวังวน มิไช่เรา
แต่เรายึดมั่นในผู้นำที่ได้รับการคัดเลือกในวันเฆาะดี้รคุม และจะยืนหยัดอย่างไม่ผันแปร
เรายึดถือรัศมีอันเจิดจรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนรัศมีแก่เรา และช่วยให้เรายืนหยัดอย่างมั่นคง[9] [10]

ชะฮีด มุฮัมมัด ศอดิก ศ็อดร์ ได้นำเสนอรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทกวีและกวีนิพนธ์ในมุมมองของฟิกเกาะฮ์ ซึ่งหากผู้ใดสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้[11]

อมีนุลอิสลาม เชค เฏาะบัรซี ได้รายงานฮะดีษจากอิมามริฎอไว้ในหนังสือ “อัลอาดาบุดดีนียะฮ์ ลิลเคาะซานะติล มุอีนียะฮ์” โดยกล่าวภายหลังว่า บทสรุปที่ได้จากรายงานต่างๆที่กล่าวไปแล้วก็คือ การขับบทกลอนในช่วงเวลาหรือสถานที่อันมีเกียรติถือเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง(มักรูฮ์)[12] ส่วนฮะดีษที่มีเนื้อหาประณามอย่างเผ็ดร้อนก็ให้ถือว่าเป็นการตะกียะฮ์

สุดท้ายนี้ขอรายงานฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(อ.)ที่ว่า “ไม่มีผู้ใดแต่งบทกวีเกี่ยวกับเราโดยมิได้รับการดลใจจากวิญญาอันบริสุทธิ์”[13]

 


[1] ซูเราะฮ์ อัชชุอะรอ,224 “และเหล่าผู้หลงทางจะคล้อยตามนักกวี”

[2] อิบนิ อบิลฮะดี้ด, ชัรฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 20,หน้า 461

[3] ฮะดีษข้างต้นได้รับการรายงานทั้งในสายชีอะฮ์และซุนหนี่ (อ่านในหนังสือ อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 9)

[4] มุสนัด อะห์มัด,เล่ม 3,หน้า 460

[5] เพิ่งอ้าง,เล่ม 4,หน้า 299

[6] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 469

[7] รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)ว่า من قال فینا بیت شعر بنى اللَّه له بیتا فى الجنة ผู้ใดที่ประพันธ์บทกวีเกี่ยวกับเรา อัลลอฮ์จทรงสร้างบ้านในสรวงสวรรค์สำหรับเขา (อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 3)

[8] นูรุษษะเกาะลัยน์, เล่ม 4,หน้า 71

[9] กุมี,อับบาส,อัลกุนา วัลอัลก้อบ,เล่ม 2,หน้า 455

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 15,หน้า 382-386

[11] ดู: มาวะรออุลฟิกฮ์,เล่ม 10,หน้า 93

[12] บะฮ์รอนี,ยูซุฟ บิน อะห์มัด บิน อิบรอฮีม, อัลฮะกออิกุน นาฎิเราะฮ์ ฟี อะห์กามิล อิตเราะติฏ ฏอฮิเราะฮ์, เล่ม 13,หน้า 164,สำนักพิมพ์อิสลามี ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,พิมพ์ครั้งแรก,กุม,ฮ.ศ.1405

[13] เชคเศาะดู้ก,อุยูน อัคบาริร ริฎอ(อ.),เล่ม 1,หน้า 7,สำนักพิมพ์ญะฮอน,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1378

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษนบีและอะฮ์ลุลบัยต์ที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองและการโอดครวญเทียบกับทัศนะของผู้รู้ชีอะฮ์ อย่างใดสำคัญกว่ากัน?
    7221 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/13
    เกี่ยวกับเรื่องนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่อไปนี้:1. ไม่ไช่ว่าฮะดีษทุกบทจะเชื่อถือได้ทั้งหมด2. ต้องคำนึงเสมอว่าปัจจัยกาลเวลาและสถานที่มีอิทธิพลต่อฮุก่ม(กฎศาสนา)3. ในจำนวนฮุก่มทั้งหมดมีฮุก่มวาญิบและฮะรอมเท่านั้นที่มีความอ่อนไหว4. จะต้องพิจารณาแหล่งอ้างอิงให้ถี่ถ้วนตัวอย่างเช่นกรณีของการร้องไห้นั้นยังมีข้อถกเถียงกันได้เพราะแม้ว่าวะฮาบีจะฟัตวาห้ามร้องไห้แก่ผู้ตายแต่ในแง่สติปัญญาแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้นอกจากนี้ฮะดีษทั้งสายซุนหนี่และชีอะฮ์ก็ปรากฏเหตุการณ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ร้องไห้ให้กับผู้ตายหรือบรรดาชะฮีดเช่นท่านฮัมซะฮ์หรือมารดาท่านนบี(ซ.ล.) ตลอดจนกรณีอื่นๆอีกมาก 5. อุละมาอ์และผู้รู้ระดับสูงสอนว่ามีบางพฤติกรรมที่ผู้ไว้อาลัยไม่ควรกระทำซึ่งบางกรณีอาจทำให้ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์ด้วยฉะนั้นจะต้องแยกแยะระหว่างพฤติกรรมที่ผิดหลักศาสนาของผู้คนที่ไม่รู้ศาสนากับคำสอนที่แท้จริงของอิสลามและบรรดาอุละมาอ์ ...
  • สรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ แตกต่างกันอย่างไร?
    8598 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/18
    ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12786 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    8035 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11064 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • เพราะสาเหตุใด มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ จึงไม่ได้ช่วยเหลือท่านอิมามฮุซัยนฺ ในขบวนการอาชูรอ และสิ่งที่กล่าวพาดพิงถึงท่านที่ว่า ท่านได้อ้างตัวการเป็นอิมามะฮฺถูกต้องหรือไม่?
    6256 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    การตัดสินเกี่ยวกับบุคลภาพ ความประเสริฐ ความศรัทธาและจริยธรรมของมุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ หรือการค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอบบิดเบือนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับบุคลิกภาพ สถานะภาพของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ มิใช่สิ่งที่ง่ายดายแต่อย่างใดเลย แต่จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ปัจจุบัน พร้อมกับอาศัยสัญลักษณ์ที่กระจัดกระจายอยู่ตามตำราอ้างอิงต่าวๆ สามารถเข้าใจมุมมองหนึ่งจากชีวประวัติของบุรุษผู้นี้ได้ เช่น คำพูดที่พูดพาดพิงถึงบุตรชายคนนี้ของท่านอิมามอะลี (อ.) สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้, กล่าวคือเขาเป็นบุรุษที่มีความยิ่งใหญ่คนหนึ่ง เป็นที่รักใคร่ของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซะนัยฺ (อ.) เขามีความเชื่อศรัทธาต่อสถานการณ์เป็นอิมามของบรรดาอิมาม (อ.) เขามิเพียงไม่ได้กล่าวอ้างการเป็นอิมามเพียงอย่างเดียว ทว่าเขายังเป็นทหารผู้เสียสละคอยปกป้อง และรับใช้ท่านอิมามอะลี (อ.) อิมามฮะซัน และอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยดีมาโดยตลอด เกี่ยวกับสาเหตุที่ท่านมิได้เข้าร่วมเหตุการณ์ในกัรบะลาอฺ หนึ่งในสาเหตุนั้นก็คือ การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั้นมีชะฮาดัตรอคอยอยู่ และการที่เป้าหมายดังกล่าวจะบังเกิดสมจริงได้นั้น ก็ด้วยจำนวนสหายดังกล่าวที่ได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เห็นว่าไม่มีความสมควรแต่อย่างใด ในการสู้รบหนึ่งซึ่งผลที่ออกมาทั้งสหาย และบุรุษลูกหลานในครอบครัวแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน จะต้องเข้าร่วมโดวยพร้อมหน้ากัน
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5833 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8700 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    7834 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8553 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59728 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57095 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41903 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38760 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38598 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33720 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27696 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27526 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27353 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25414 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...