การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8033
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4098 รหัสสำเนา 20407
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษทุกบทที่กล่าวถึงการมุตอะฮ์เชื่อถือได้หรือไม่?
คำถาม
บางครั้งบรรดาอิมามอาจจะกล่าวฮะดีษสอดคล้องกับสถานการณ์หรือกรณีฟิกเกาะฮ์ในลักษณะบทเฉพาะกาล เป็นที่น่าเศร้าใจที่มีฮะดีษปลอมปรากฏในตำราศาสนาของเราบางเล่ม น่าเสียใจที่มีผู้เคร่งศาสนาบางคนที่หวังดีและอยากจะนำเสนอประเด็นการสมรสชั่วคราว แต่กลับอ้างอิงถึงฮะดีษบางบทที่ไม่น่าเชื่อถือแง่ไวยากรณ์และสำนวนทางเทววิทยา กรุณาวิจารณ์ฮะดีษเหล่านี้ด้วยค่ะ
1. อะบาน บิน ตัฆลิบ ถามอิมามศอดิก(อ.)ว่า หากพบสตรีโฉมงามที่พร้อมจะสมรสชั่วคราว แต่ไม่มั่นใจว่าเธอมีสามีหรือไม่ จะต้องทำอย่างไรขอรับ? ท่านตอบว่า “ไม่จำเป็นต้องสืบประวัติเธอ คำพูดที่ว่าเธอไม่มีสามีถือว่าเพียงพอแล้ว” (หมวดมุตอะฮ์ เชคมุฟี้ด,ฮะดีษที่ 37)
2. ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ผู้ที่กระทำมุตอะฮ์หนึ่งครั้ง เท่ากับว่าเศษหนึ่งส่วนสามของเขาเป็นอิสระแล้วจากไฟนรก ผู้ที่กระทำสองครั้ง สองในสามของเขาปลอดภัย ผู้ที่กระทำสามครั้ง เขาจะปลอดภัยจากไฟนรกทั้งเรือนร่าง
3. ซุรอเราะฮ์ บิน อะอ์ยัน รายงานจากอิมามบากิร(อ.)ว่า ความสุขของผู้ศรัทธามีสามประการ หนึ่ง มุตอะฮ์กับอิสตรี สอง หยอกล้อกับมิตรสหาย สาม นมาซตะฮัจญุด (หนังสือ สมรสชั่วคราว: ความจำเป็นแห่งยุคสมัย,อับบาสซอเดะฮ์)
4. ฮิมยะรีส่งสาส์นถามท่านอิมามมะฮ์ดีว่า มีชายชีอะฮ์คนหนึ่งที่ยอมรับว่ามุตอะฮ์เป็นที่อนุมัติ และมีภรรยาที่ดีและปรนนิบัติอย่างเต็มที่ เขาจึงสัญญากับนางว่าจะไม่สมรสอีก ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว เขารักษาสัญญาไว้ถึงสิบเก้าปี แม้บางครั้งต้องเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองแต่เขาก็อดทน เขายอมรับว่ามุตอะฮ์เป็นสิ่งอนุมัติก็จริง แต่เนื่องจากรักภรรยาเป็นอย่างยิ่ง จึงไม่ยอมมุตอะฮ์กับสตรีคนใดเลย ถามว่าการที่เขางดกระทำมุตอะฮ์ ถือเป็นบาปหรือไม่ขอรับ? คำตอบจากท่านอิมามส่งถึงเขาดังนี้ “เนื่องจากเขาสัญญาในสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนอัลลอฮ์ จึงจำเป็นต้องเชื่อฟังพระองค์ และกระทำมุตอะฮ์หนึ่งครั้งเป็นอย่างน้อย” (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 100,หน้า 298 และ หมวดมุตอะฮ์,เชคมุฟี้ด,หน้า 48)
5. ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ผู้ใดที่ตายไปโดยที่ยังไม่เคยมุตอะฮ์ จะมีหน้าตาอัปลักษณ์เสมือนคนที่จมูกแหว่ง”
คำตอบโดยสังเขป

การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบธรรมเนียมแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้
ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(..)และเคาะลีฟะฮ์คนแรก ตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง กระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุด
แต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไป เนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนาดังกล่าวถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรม อย่างไรก็ดี ฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ควรได้รับการกลั่นกรองสายรายงานและเนื้อหาเสมือนฮะดีษอื่นๆทั่วไป ซึ่งจะแจกแจงในคำตอบแบบสมบูรณ์ต่อไป นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาสภาพสังคมในยุคของอิมามด้วย

คำตอบเชิงรายละเอียด

การสมรสชั่วคราวถือเป็นหนึ่งในขนบแห่งอิสลามที่กุรอานได้อนุญาตไว้
ขนบธรรมเนียมอันดีงามนี้มีการถือปฏิบัติกันในสังคมมุสลิมยุคท่านนบี(..)และเคาะลีฟะฮ์คนแรก ตลอดจนระยะแรกของยุคเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง กระทั่งเขาได้สั่งห้ามในที่สุด
แต่บรรดาอิมามมะอ์ศูมีนมักจะรณรงค์ให้มีการสมรสประเภทนี้ต่อไป เนื่องจากขนบธรรมเนียมทางศาสนานี้ถูกสั่งห้ามอย่างไม่ชอบธรรม การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการดื้อแพ่งต่อคำสั่งห้ามอันเป็นบิดอะฮ์ และนี่คือเหตุผลที่การสมรสประเภทนี้ถือเป็นมุสตะฮับในทัศนะของชีอะฮ์ ซึ่งมีการอธิบายไว้ในสำนวนฮะดีษหลายบท

ส่วนการวิจารณ์ฮะดีษนั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการวิจารณ์ฮะดีษต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สายรายงานว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ และไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาฮะดีษว่า แม้ฮะดีษน่าเชื่อถือจริง แต่จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ข้อพึงสังเกตุที่ว่าฮะดีษกล่าวขึ้นในบริบทใด เรื่องใด และตอบคำถามใดหรือไม่?

เราเห็นพ้องกับคุณในประเด็นที่ว่า ผู้ที่ไม่มีความชำนาญไม่ควรนำเสนอฮะดีษตามใจชอบ ด้วยเหตุนี้เองที่แม้ในยุคของบรรดาอิมามเองก็มีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้รายงานฮะดีษ
ก่อนจะวิเคราะห์ฮะดีษที่คุณอ้างอิงไว้ จำเป็นต้องวิจารณ์สายรายงานและเนื้อหาโดยละเอียดดังต่อไปนี้:

ฮะดีษแรก
ฮะดีษนี้ปรากฏในหนังสืออัลกาฟีด้วยสายรายงานต่อไปนี้:

عدة من أصحابنا ، عن أحمد بن محمد بن خالد ، عن محمد بن علی ، عن محمد بن أسلم ، عن إبراهیم بن الفضل ، عن أبان بن تغلب قال : قلت لأبی عبد الله ( علیه السلام ) : إنی أکون فی بعض الطرقات أرى المرأة الحسناء و لا آمن أن تکون ذات بعل أو من العواهر؟ قال: لیس هذا علیک إنما علیک أن تصدقها فی نفسها[1]

ในสายรายงานนี้มีมุฮัมมัด บิน อลี และ มุฮัมมัด บิน อัสลัม ซึ่งเป็นพวกสุดโต่งและไม่น่าเชื่อถือ ส่วน อิบรอฮีม บิน ฟัฎล์ อัลฮาชิมีก็เป็นบุคคลที่ไม่มีใครรู้จัก
อย่างไรก็ดี ในหมวดดังกล่าว(หมวดเชื่อสตรีได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวนางเอง) มีฮะดีษถัดไปที่มีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์ อันหมายถึงผู้รายงานทุกคนเชื่อถือได้ เป็นอิมามียะฮ์ และเชื่อมถึงอิมาม โดยมีเนื้อหาตรงตามนั้น

แต่เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ฮะดีษมีทั้งประเภทที่มีเนื้อหากว้างและเนื้อหาเจาะจง หรือประเภทมีเงื่อนไขและปราศจากเงื่อนไข บางกรณีมีเนื้อหาหักล้างกันเอง ซึ่งทำให้เข้าใจลำบากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องสอบถามผู้รู้เฉพาะทางในสายฮะดีษ (บรรดามุจตะฮิด) เพื่อมิให้เข้าใจผิดเพี้ยนหรือตีความตามอำเภอใจ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่า หากหญิงคนใดกล่าวว่าตนไม่มีสามีก็สามารถเชื่อตามนั้นได้ (หากไม่เป็นที่รู้กันว่านางชอบโกหกพกลม)[2]

ส่วนฮะดีษบทที่สองที่คุณอ้างไว้ เราไม่พบในตำราเล่มใด จึงไม่อาจจะแสดงทัศนะได้

ส่วนฮะดีษบทที่สาม ตัวบทฮะดีษมีอยู่ว่า 

أبی عن سعد ، عن حماد بن یعلی ، عن أبیه، عن حماد بن عیسى عن زرارة ، عن أبی جعفر (ع) قال : لهو المؤمن فی ثلاثة أشیاء: التمتع بالنساء و مفاکهة الاخوان و الصلاة باللیل[3]

ในสายรายงานนี้มี ฮัมม้าด บิน ยะอ์ลา และพ่อของเขา ยะอ์ลา บิน ฮัมม้าด ซึ่งทั้งสองคนไม่เป็นที่รู้จัก จึงทำให้กลายเป็นฮะดีษเฎาะอี้ฟ ทว่าไม่มีข้อด้อยในแง่เนื้อหา เนื่องจากการสมรสชั่วคราวนั้น แม้ว่าจะกระทำเพียงเพื่อให้มีความสุขก็ถือว่าถูกต้อง อย่างไรก็ดี การแสวงหาความสุข (ตะมัตตุอ์)ในที่นี้อาจหมายถึงการสมรสถาวรก็ได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวย่อมอยู่นอกเหนือประเด็นของเรา

ส่วนฮะดีษบทที่สี่
อันดับแรก: ฮะดีษนี้มีสองสายรายงานซึ่งอ่อนทั้งคู่ ทว่ามีฮะดีษอีกบทหนึ่งซึ่งเป็นเศาะฮี้ห์ อันหมายถึงผู้รายงานทุกคนเชื่อถือได้ เป็นอิมามียะฮ์ และเชื่อมถึงอิมาม จึงสามารถอ้างอิงและใช้ประโยชน์ในแง่เนื้อหาได้
สอง: ความหมายที่ถูกต้องของฮะดีษดังกล่าวคือ เป็นสิ่งบังควร (มิไช่บังคับ) ที่เขาจะเชื่อฟังอัลลอฮ์ด้วยการกระทำมุตอะฮ์ และควรกระทำแม้สักครั้งเพื่อเป็นการเพิกถอนสัญญาอันเป็นมะอ์ศิยัตดังกล่าว[4]

ส่วนฮะดีษที่ห้านั้น เราไม่พบในตำราเล่มใด

สรุปคือ อุละมาชีอะฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ในเรื่องการอนุมัติให้มุตอะฮ์ได้ แม้จะกระทำเพื่อความสุขทางเพศเพียงอย่างเดียวก็ตาม ซึ่งข้อสรุปข้างต้นสังเคราะห์มาจากเนื้อหาของฮะดีษอื่นๆจำนวนไม่น้อยที่นอกเหนือจากฮะดีษที่กล่าวมาทั้งหมด ซึ่งล้วนมีความน่าเชื่อถือเพียงพอ

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่าน:
ระเบียน การสมรสชั่วคราวและความสงบทางจิตใจ เลขที่ 2925 (เว็บไซต์ 3130)
ระเบียน การสมรสชั่วคราวในกุรอานและจารีตของมะอ์ศูมีน เลขที่ 2965  (เว็บไซต์ 3467)
ระเบียน การอนุมัติให้สมรสชั่วคราวได้ เลขที่ 844 (เว็บไซต์ 915)
ระเบียน ผลเสียที่จะเกิดจากการปล่อยให้มีการสมรสชั่วคราวในสังคม เลขที่ 347 (เว็บไซต์ 353)



[1] ษิเกาะตุลอิสลาม กุลัยนี, อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 462, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,..1365

[2] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก),เล่ม 2,หน้า 499, ปัญหาที่ 2456 และเชิงอรรถของอายะตุลลอฮ์ ฟาฎิลลังกะรอนี, ซีซตานี, และมะการิม ชีรอซี

[3] เชคเศาะดู้ก,อัลคิศ้อล,เล่ม 1,หน้า 161,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์มุดัรริซีน,กุม,.. 1403

[4] อามิลี, เชคฮุร,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 21,หน้า 17 (หมวดมุสตะฮับให้มุตอะฮ์แม้จะสัญญาหรือบนบานว่าจะไม่กระทำ),สถาบันอาลุลบัยต์,กุม,..1409   .".... یستحب له أن یطیع الله تعالى بالمتعة لیزول عنه الحلف فی المعصیة و لو مرة واحدة

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    6307 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    24662 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • ฟิรอูนถูกลงโทษต่อพฤติกรรมที่เป็นบททดสอบของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
    10039 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    หนึ่งในจารีตของพระองค์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “การทดสอบปวงบ่าว” ซึ่งกระทำผ่านเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ บางครั้งพระองค์ใช้ผู้กดขี่เป็นบททดสอบทั้งๆที่ตัวผู้กดขี่เองไม่ทราบว่าตนเองเป็นบททดสอบ กรณีเช่นนี้จึงหาได้ลดทอนความน่ารังเกียจของพฤติกรรมของพวกเขาไม่ และไม่ทำให้สมควรได้รับการลดหย่อนโทษแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าพระองค์ไม่ได้สั่งให้เขาเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น ทว่าพระองค์ทรงตระเตรียมการในลักษณะที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กดขี่แสดงพฤติกรรมกดขี่ด้วยการตัดสินใจของตนเอง การกดขี่ดังกล่าว (ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระองค์) ก็จะกลายเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น และเนื่องจากการกดขี่ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเจตนาของผู้กดขี่เอง จึงสมควรได้รับบทลงโทษ ...
  • การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
    13229 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/09
    ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน” สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7356 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5514 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • เราสามารถกล่าวคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนเวลาอะซานหรือไม่? หรือจำเป็นหรือไม่ที่จะกล่าวอะซานระหว่างสองคุฏบะฮ์
    5966 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    คำถามของคุณไม่ชัดเจนนัก ทำให้สามารถแบ่งคำถามนี้ได้เป็น 2 คำถาม แต่คาดว่าคำถามของคุณน่าจะหมายถึงข้อที่หนึ่งดังต่อไปนี้1. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องกล่าวหนึ่งในสองของคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ก่อนถึงเวลาอะซาน(เวลาที่ตะวันเริ่มคล้อยลง) หรือสามารถกล่าวคุฏบะฮ์ทั้งสองก่อนหรือหลังอะซานก็ได้?
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7587 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    6353 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59706 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57070 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41889 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38726 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38586 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33701 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27690 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27501 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27336 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25400 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...