การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8031
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2484 รหัสสำเนา 18989
คำถามอย่างย่อ
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำถาม
เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
คำตอบโดยสังเขป

ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึง มิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่นการตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้าไม่มีการอภัยอย่างแน่นอน หรือความผิดบางอย่าง เช่น สิทธิของมนุษย์ด้วยกัน (ฮักกุลนาซ) ย่อมไม่ได้รับการอภัยให้ด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนของคนอื่น, ทว่าต้องมีการทดแทนหรือการขอความเห็นใจ หรือขออภัยจากเจ้าของสิทธินั้น เพื่อเป็นบทนำไปสู่การอภัยต่อไป

ผู้กระทำความผิด บางครั้งได้กระทำผิดไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ซึ่งหลังจากสำนึกผิดและลุแก่โทษแล้วยังมีความหวังว่าจะได้รับการอภัย และบางครั้งผู้กระทำผิดได้กระทำผิดเพราะความพลั้งเผลอ ซึ่งต้องอาศัยการทดแทนความผิด.ซึ่งการทดแทนความผิดและมรรคผลนั้นผู้กระทำผิดอาจกระทำด้วยตัวเอง หรือบุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน

แน่นอน มนุษย์นั้นไม่มีสิทธิได้รับสิ่งใดเกินความพยายามและกำลังสามารถของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคกับความการุณย์และความเมตตาของพระเจ้าแต่อย่างใด, เพราะพระองค์จะประทานความโปรดปรานแก่บุคคลที่มีความคู่ควรเท่านั้น. จริงๆ แล้วสิทธิคือประเด็นนี้ ส่วนความเมตตาของพระเจ้าก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

การทำความดี ดุอาอฺ การวิงวอนขออภัย และการชะฟาอะฮฺ มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งไร้สาระแต่อย่างใด, ซึ่งในมุมหนึ่งถือว่าเป็นผลงานของบุคคลด้วยเหมือนกัน, เช่น ชะฟาอะฮฺนั้นต้องขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม และการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วผู้ที่จะรับชะฟาอะฮฺต้องมีคุณสมบัติ และมีศักยภาพเพียงพอต่อการรับ. ดังเช่นพืชและต้นไม้ต่างๆ ถ้าปราศจากการเอาใจใส่ดูแลไม่ให้น้ำอย่างเพียงพอแล้ว ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ได้,แต่ต้องมีศักยภาพและความสามารถในการเจริญเติบโตด้วยตัวเองเสียก่อน เพื่อว่าน้ำและแสงแดดและ ... จะได้มีประโยชน์กับตัวเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบโปรดพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้ :

1.ผู้กระทำความผิดทุกคนมี 2 ด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งคือการหลงลืมและการไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของอัลลอฮฺ) ส่วนอีกด้านหนึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของผู้กระทำผิดและบุคคลอื่นในสังคม (เท่ากับเป็นการอธรรมในสิทธิของคนอื่นและผู้กระทำผิด)[1]

2.ผู้กระทำความผิดไม่เท่าเทียมกัน ถ้าหากพิจารณาไปตามความขัดแย้งของกาลเวลา สถานที่ ความแตกต่างในความผิดที่กระทำ และบุคลิกภาพของผู้กระทำผิด, แน่นอน แต่ละคนมีความแตกต่างกัน การลงโทษก็ต้องมีความแตกต่างกันด้วย เช่น อัลกุรอาน กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไว้ โดยกล่าวว่า :โอ้ บรรดาภริยาของนบี! พวกเจ้าคนใดนำความชั่วอย่างชัดแจ้งมา การลงโทษจะถูกเพิ่มให้แก่นางเป็นสองเท่า ในการนั้นเป็นการง่ายดายแก่อัลลฮฺ[2] หรือรายงานจากท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวว่า :บุคคลใดกระทำความผิดอย่างเปิดเผย หรือเผยแพร่ความผิดเขาจะได้รับความต่ำทรามที่สุด แต่บุคคลใดปกปิดความผิดเอาไว้เขาจะได้รับการอภัย[3]

3.ในการแบ่งประเภทหนึ่งกล่าวว่า ความผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทสิทธิของอัลลอฮฺ และสิทธิของมนุษย์ซึ่งรายงานกล่าวว่า :อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยความผิดที่เป็นฮักกุนนาซ (สิทธิของคนอื่น), เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะอโหสิกรรมให้ด้วยตัวเอง[4]ด้วยเหตุนี้ ความผิดประเภทนี้ไม่อาจลบล้างได้ดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโดยผู้กระทำความผิด หรือคนอื่นกระทำให้ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็ตาม, นั่นหมายความว่าความผิดเหล่านี้ไม่อาจได้รับการอภัยได้ เว้นเสียแต่ว่าเจ้าของสิทธิ์จะเป็นผู้อภัยด้วยตัวเอง เช่น บุคลลหนึ่งได้ทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของคนอื่น ตราบที่เจ้าของยังไม่อภัยให้, อัลลอฮฺก็จะไม่อภัยให้เขาเด็ดขาด

4.ความผิดได้ถูกแบ่งเป็นความผิดเล็กและความผิดใหญ่, ความผิดใหญ่ได้แก่ความผิดซึ่งในทัศนะอิสลามให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งอัลกุรอานได้เตือนสำทับและสั่งห้ามเอาไว้โดยสิ้นเชิง, อีกทั้งได้สัญญาการลงโทษเอาไว้ในไฟนรกเอาไว้, เช่น การผิดประเวณี, การสังหารชีวิตบริสุทธิ์, การกินดอกเบี้ย, และ .... ดังที่รายงานได้กล่าวสำทับไว้เช่นกัน[5] แต่ความผิดเล็กหมายถึงความผิดที่ได้ถูกห้ามเอาไว้ ซึ่งเป็นความผิดประเภทเดียวที่อัลกุรอานได้สัญญาว่าจะอภัยให้ โดยกล่าวว่า : “หากสูเจ้าปลีกตัวออกจากบรรดาบาปมหันต์ ที่สูเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างบรรดาเหล่าความผิดเล็กๆ ของสูเจ้าออกจากสูเจ้า และเราจะให้สูเจ้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ[6]

ตามคำสอนของโองการข้างต้นกล่าวว่า การหลีกเลี่ยงจากการทำความผิดใหญ่, ความผิดเล็กๆ น้อยก็จะได้รับการอภัย. แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าบางครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขพิเศษบางอย่าง, เช่น ความผิดเล็กๆ น้อยๆ ต้องไม่เปลี่ยนเป็นความผิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับได้ออกนอกสัญญาของพระเจ้าไปแล้ว[7]

5.ในการแบ่งอีกประเภทหนึ่ง สามารถแบ่งผู้กระทำความผิดไว้เป็น 2 กลุ่มดังนี้

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดด้วยความโง่เขลาเบาปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลังจากนั้นได้สำนึกผิดอยู่ในช่วงของการทดแทน และขอลุแก่โทษ ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขาอย่างแน่นอน[8]

.กลุ่มชนที่กระทำความผิดทั้งๆ ที่รู้ และหลังจากนั้นก็ไม่สำนึกผิด แน่นอน การอภัยของพระองค์จะไม่ครอบคลุมถึงเขาเด็ดขาด

จากสิ่งที่กล่าวมาเป็นที่ประจักษ์ว่า การอภัยในความผิดต่างๆ โดยพระเจ้า หรือการเปลี่ยนแปลงผู้กระทำความผิด เฉพาะความผิดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาเอาไว้ว่าจะทรงอภัยให้[9]

แต่ถ้าบุคคลนั้นตลอดอายุขัยของตนอยู่กับการทำความผิดหรือระหกระเหินท่ามกลางความหลงผิด, ดังนั้น ความผิดของเขาจะหมดไปด้วยการดุอาอฺ หรือการวิงวอนขออภัยโทษของบุคคลอื่นได้อย่างไร? หรือชะตาชีวิตของเขาในปรโลกจะได้รับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่า ผู้กระทำผิดที่จมปรักอยู่กับการกระทำผิดนั้นมิได้เป็นเช่นนี้ทุกคน และเป็นไปไม่ได้ที่ความผิดของพวกเขาจะได้รับการอภัย หรือเปลี่ยนแปลงไปเพราะดุอาอฺหรือการวิงวอนของคนอื่น, ใช่แล้ว เกี่ยวกับผู้กระทำความผิดที่ละเมิดกระทำความผิดลงไป อัลลอฮฺ ทรงสัญญาว่าจะอภัยแก่พวกเขา นี่เป็นความหวังว่าแม้แต่ดุอาอฺและความวิงวอนของคนอื่น พวกเขาก็จะได้รับการอภัยด้วย, เนื่องจากอัลกุรอานได้กล่าวว่าความดีงาม จะขจัดความไม่ดี (ความผิด) ให้หมดไป[10] ดังเช่นผู้กระทำความผิดถ้าหากในชีวิตของเขาได้กระทำความดี ซึ่งการกระทำความดีตามความหมายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสัญญาว่าจะลบล้างความผิดและผลของความผิดให้แก่เขา, ขณะที่ถ้าหากบุคคลอื่นได้กระทำความดี และได้อุทิศความดีงามแก่ผู้กระทำความผิด แน่นอน การกระทำเช่นนี้จะเป็นสาเหตุทำให้ความผิดต่างๆ ของเขาถูกลบล้าง

มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวว่า : เมื่อบุคคลหนึ่งได้ตายจากโลกนี้ไป และบุคคลอื่น (เช่นบุตรและธิดา) ได้กระทำความดี เช่น นมาซ, ถือศีลอด, ฮัจญฺ, บริจาคทาน, ซื้อความเป็นไทให้แก่ปวงบ่าว, และ ....โดยอุทิศผลบุญของงานดังกล่าวนี้ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ แน่นอน ผลบุญและรางวัลของการกระทำดังกล่าวนี้จะตกไปถึงเขา[11]

แน่นอน เมื่อผลบุญของการกระทำความดีของคนอื่นที่ได้อุทิศให้แก่ผู้กระทำความผิด, ไปถึงผู้ตาย ถ้าหากเป็นผลบุญที่สามารถทดแทนผลที่ไม่ดีของความผิดของผู้ตายได้ ความผิดของเขาย่อมได้รับการทดแทน และนี่คือความยุติธรรมของพระเจ้าที่บุคคลอื่นได้ทำความดีในสิทธิ์ของผู้กระทำความผิด ซึ่งความผิดนั้นอยู่ในระดับชั้นของความดีดังกล่าว ความผิดนั้นย่อมได้รับการอภัยอย่างแน่นอน, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงเปิดหนทางดังกล่าวโดยผ่านพระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล )[12]

ประหนึ่งกฎเกณฑ์บนโลกนี้ ถ้าหากผู้ใดได้กระทำสิ่งที่ขัดกฎหมาย และสร้างความเสียหายแก่คนอื่น ถ้าหากคู่กรณียอมจ่ายค่าชดเชยเป็นการตอบแทน, ย่อมสร้างความพอใจแก่ผู้เสียหายได้ แต่ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเขาย่อมได้รับการลงโทษ. ด้วยเหตุนี้ไม่ต้องแปลกใจและไม่มีคำถามเลยว่า ความผิดของผู้กระทำผิดที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้ถูกลบล้างด้วยการทำความดีของบุคคลอื่นได้อย่างไร

ใช่แล้ว ถ้าหากผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้กระทำความผิดไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าหากให้ผู้กระทำความดีทั้งโลกทำความดี และอุทิศความดีแก่เขา ความดีเหล่านั้นก็ไม่อาจทดแทนความผิดที่เขาได้กระทำไว้ได้, ในกรณีนี้ถือว่าความผิดของเขาไม่อาจทดแทนได้ด้วยการทำความดีของบุคคลอื่น, ทว่าความผิดของเขาย่อมได้รับการลดหย่อน ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงลดหย่อนการลงโทษแก่เขาอย่างแน่นอน[13]

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงยุติธรรมและทรงปรีชาญาณเสมอ พระองค์จะไม่อธรรมปวงบ่าวแม้เล็กเท่าองค์ผลธุลีก็ตาม, พระองค์จะไม่ทรงละเลยการงานของมนุษย์ พระองค์จะไม่ทรงทำลายผลรางวัลของการทำความดีของปวงบ่าว เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงอภัยให้แก่บางคน ซึ่งในทัศนะของเราบุคคลนั้นสมควรได้รับการลงโทษอันแสนสาหัสจากพระองค์ก็ตาม (เนื่องจากเราไม่ได้รับรู้ถึงการงานทั้งหมดและความประพฤติของเขา), แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) พระผู้ทรงปรีชาญาณและทรงรอบรู้ทุกสิ่งซึ่งเรานั้นไม่รู้, ดังนั้น ต้องยอมรับว่าการอภัยของพระองค์สืบเนื่องมาจากการทำความดีของเขา พระองค์ทรงรู้แต่เราไม่รู้

อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าดุอาอฺที่บริสุทธิ์ใจ การวิงวอนขออภัยในความผิดต่ออัลลอฮฺ สำหรับบุคคลอื่นก็เนื่องจากมีมรรคผลที่ดี และเป็นการทำความดี ซึ่งบุคคลอื่นได้กระทำในสิทธิของตน ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นแล้วบุคคลหนึ่งที่ไม่มีความดีงามอันใดในชีวิตของเขา และตลอดอายุขัยของเขามากไปด้วยการทำความผิด, ก็จะไม่มีผู้ใดขอดุอาอฺด้วยความจริงใจให้เขาแน่นอน, แม้แต่บุตรและธิดาหรือเครือญาติชั้นของเขา, ถ้าหากพวกเขาเป็นคนไม่ดีดุอาอฺของเขาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ถ้าพวกเขาเป็นคนดีและไม่ใจจืดใจดำที่จะดุอาอฺ และวิงวอนขออภัยโทษแก่เขา แน่นอน ดุอาอฺของเขาย่อมถูกตอบรับอย่างแน่นอน

ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้ตอบคำถามโองการที่กล่าวถึงเรื่องชะฟาอะฮฺ เช่น โองการ 21, บทฏูร ที่กล่าวว่า : และบรรดาผู้ศรัทธา บรรดาลูกหลานของพวกเขาจะดำเนินตามพวกเขาด้วยการศรัทธา เราจะให้ลูกหลานของพวกเขาอยู่ร่วมกับพวกเขาขณะที่เขาไม่เคยขวนขวายในหนทางดังกล่าวเลย, หรือสิ่งที่รายงานได้กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อใดก็ตามถ้าบุคคลหนึ่งได้กระทำความดี,ผลของความดีเหล่านั้นจะตกไปถึงลูกหลานของเขา, ดังนั้น รายงานดังกล่าวนี้กับโองการข้างต้นจะสามารถรวมกันได้ไหม ซึ่งผลประโยชน์ของแต่ละคนในวันฟื้นคืนชีพ ขึ้นอยู่การขวนขวายของเขา

อัลกุรอานกล่าวว่า : ไม่มีบุคคลใดจะได้รับสิ่งใดมากเกินการขวนขวายพยายามของตน, แต่สิ่งนี้ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใดที่ว่าอัลลอฮฺจะทรงประทานความโปรดปรานให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสม ด้วยความเมตตาและความการุณย์ของพระองค์. สิทธิคือประเด็นหนึ่ง ส่วนเรื่องความเมตตาการุณย์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ดังที่ ความดีงามบางครั้งได้รับการตอบแทนผลรางวัลเป็น 10 เท่าตัว บางครั้งก็เป็นร้อยหรือเป็นพันเท่าของความดี

อย่างไรก็ตาม การชะฟาอะฮฺ มิได้ถูกให้โดยปราศจากการตรวจสอบแต่อย่างใด, ซึ่งชะฟาอะฮฺก็ต้องอาศัยความพยายามและการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างจิตด้านในกับผู้ให้ชะฟาอะฮฺด้วย[14]

อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวอธิบายเรื่องชะฟาอะฮฺไว้ในตัฟซีรอัลมีซานว่า : ถ้าหากบุคคลหนึ่งต้องการไปให้ถึงยังผลบุญ แต่ไม่ได้จัดเตรียมเหตุของผลบุญเอาไว้ แต่ไม่ได้ต่อต้านหน้าที่เพียงแต่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน, ขณะที่ตรงนี้เขาได้ตะวัซซุลไปยังชะฟาอะฮฺ ซึ่งผลของชะฟาอะฮฺจะเกิดหรือไม่ตรงประเด็นนี้เอง, แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปที่ว่า, สำหรับบางคนไม่มีคุณสมบัติที่จะไปถึงความสมบูรณ์ตามกล่าวเลยแม้แต่นิดเดียว เช่น สามัญชนคนหนึ่งต้องการเป็นผู้รู้สูงสุดด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ขณะลงซัจญฺดะฮฺ จะต้องเอาอวัยวะส่วนใดลงพื้นก่อนซัจญฺดะฮฺ?
    5947 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    การซัจญฺดะฮฺเป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ, ซึ่งมีองค์ประกอบและเงื่อนไขวาญิบและมุสตะฮับหลายประการ, เช่น หนึ่งในบางประการที่ถือว่าเป็นมุสตะฮับของซัจญฺดะฮฺ, กล่าวคือ ชาย ขณะลงซัจญฺดะฮฺให้เอาฝ่ามือลงก่อน, ส่วนหญิงให้เอาเข่าลงก่อน[1] [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัชชี), ผู้ตรวจทานและค้นคว้า : บนีฮาชิมมี โคมัยนี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน, เล่ม 1, หน้า 591, ดัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้ง 8, ปี ฮ.ศ. 1424
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8510 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    9006 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7596 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6584 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8463 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...
  • ถ้าหากชาวสวรรค์มีการแบ่งชั้นอยู่ ดังนั้นสำหรับชาวนรกแล้วเป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่?
    11707 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    สิ่งที่อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ กล่าวไว้เกี่ยวกับชั้นต่างๆ ของนรก,ก็คือนรกนั้นมีชั้นเหมือนกับสวรรค์[1]ที่แบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งชาวนรกทั้งหลายจะถูกพิพากษาไปตามความผิดที่ตนได้กระทำไว้หนักเบาต่างกันไป, ซึ่งเขาจะถูกนำไปพักอยู่ในชั้นนรกเหล่านั้นเพื่อลงโทษในความผิดที่ก่อขึ้น รายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวเกี่ยวกับโองการที่ว่า «لَها سَبْعَةُ أَبْوابٍ لِكُلِّ بابٍ مِنْهُمْ جُزْءٌ مَقْسُوم»[2] สำหรับนรกมีเจ็ดประตู และทุกประตูมีสัดส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว (สำหรับผู้หลงทาง) ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ได้มีรายงานมาถึงฉันว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแบ่งนรกออกเป็น 7 ชั้น 1.ชั้นที่หนึ่ง : เป็นชั้นที่สูงที่สุดเรียกว่า “ญะฮีม” ชาวนรกในชั้นนี้จะถูกให้ยืนอยู่บนโขดหินที่ร้อนระอุด้วยความยากลำบาก กระดูกและสมองของเขาจะเดือดพล่านเนื่องจากความร้อนนั้น
  • ระบบการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาในอิหร่านเป็นอย่างไร?
    9939 ประวัติหลักกฎหมาย 2555/08/22
    ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ ...
  • หากในท้องปลาที่ตกได้ มีปลาตัวอื่นอีกด้วย จะรับประทานได้หรือไม่?
    5939 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    มีการสอบถามคำถามทำนองนี้ไปยังสำนักงานของบรรดามัรญะอ์ตักลีดบางท่านซึ่งท่านได้ให้คำตอบดังนี้ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอี:ปลาที่ตกได้ถือว่าฮะลาลท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี:อิห์ติยาฏวาญิบ(สถานะพึงระวัง) ถือว่าเป็นฮะรอมท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฎิลลังกะรอนี:หากปลาที่ตกมาได้เป็นปลาประเภทฮาลาลก็ถือว่าเป็นอนุมัติท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี่ยง[1]อายาตุลลอฮ์อะรอกี:อิห์ติยาฏควรจะหลีกเลี้ยงเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตอนที่มันออกมามีชีวิตหรือไม่ดังนั้นถือว่าไม่สะอาด[2]อายาตุลลอฮ์นูรีฮาเมดอนี:ถือว่าฮาลาล[3]ดังที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าบรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแต่สามารถสรุปได้โดยรวมว่าหากมีสัตว์ที่อยู่ในท้องของปลาที่จับมาได้หากสัตว์ตัวนั้นเป็นปลาหรือเป็นสัตว์น้ำชนิดที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาโดยขณะที่เราเอาผ่าออกมาเราแน่ใจว่าสัตว์น้ำดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่ถือว่าฮาล้าลส่วนกรณีที่ต่างไปจากนี้อาทิเช่นเมื่อได้ผ่าท้องปลาและเห็นว่าสัตว์ที่อยู่ในท้องมันตายแล้วก่อนหน้านั้นถือว่าไม่สามารถรับประทานสัตว์น้ำดังกล่าวได้ส่วนในกรณีที่สาม (ไม่รู้ว่าสัตว์น้ำในท้องปลายังมีชีวิตหรือไม่) ในกรณีนี้บรรดามัรญะอ์มีทัศนะที่แตกต่างกันไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนั้นมุกัลลัฟแต่ละจะต้องทำตามฟัตวาของมัรญะอ์ของตน
  • การคบชู้หมายถึงอะไร?
    10012 สิทธิและกฎหมาย 2557/05/22
    การซินา หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยผิดประเวณีกับหญิงอื่น ที่มิใช่ภรรยาตามชัรอีย์ (ภรรยาที่สมรสถาวร หรือชั่วคราว) การซินาในทัศนะอัลกุรอาน, ถือเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตรัสถึงการซินาไว้ว่า “จงอย่าเข้าใกล้การลอบผิดประเวณี เนื่องจากเป็นการลามกและทางอันชั่วช้ายิ่ง”[1],[2] การกระทำดังกล่าว ถ้ากระทำโดยหญิงมีสามี หรือชายมีภรรยาอยู่แล้ว เรียกว่า การเป็นชู้[3] แต่ถ้ามิได้เป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นการทำชู้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของการซินา และการลงโทษที่จะติดตามมา อันถือว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และหน้าขยะแขยงยิ่งนี้ กรุณาศึกษาจากคำตอบต่อไปนี้ อย่างไรหรือที่เรียกว่า ซินา, 8243 (ไซต์ 8288) การลงโทษ และการลุแก่โทษ กรณีการทำชู้ 7159 (ไซต์ 7508) ฮุกุ่มของการซินากับหญิงมีสามี 2688 (ไซต์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59715 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57076 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41899 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38735 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38591 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33708 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27693 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27511 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27343 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25405 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...